Materiality
การระบุประเด็นสำคัญ
ธนาคารได้กำหนดประเด็นที่มีความสำคัญต่อการดำเนินงานด้านความยั่งยืนขององค์กร ให้สอดคล้องกับความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
และยุทธศาสตร์การดำเนินงานของธนาคารด้วยการนำหลักการของ GRI ฉบับ Standardsมาใช้โดยเริ่มตั้งแต่การระบุประเด็นด้านความยั่งยืนที่มีความสำคัญต่อการดำเนินงานของธนาคาร (Identification) และจัดลำดับความสำคัญของประเด็นที่มีผลต่อการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของธนาคาร และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Prioritization) โดยได้นำผลที่ได้จากปี 2561 และข้อเสนอแนะที่ได้จากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและการประชุมร่วมกับหน่วยงานภายในธนาคารมาพิจารณาถึงความสำคัญของประเด็นดังกล่าวว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ และตรวจสอบถึงความถูกต้องของข้อมูลและความครบถ้วน (Validation) แล้วจึงนำเข้าสู่กระบวนการทบทวน (Review) เพื่อเตรียมตัวสำหรับการจัดทำรายงานความยั่งยืนในปีถัดไป ตามกรอบ GRI ฉบับ Standards โดยมีรายละเอียดการดำเนินงานดังนี้
กระบวนการระบุประเด็นสำคัญ
กลยุทธ์สู่ความยั่งยืน
material issues
material issues
ประเด็นสาระสำคัญ
ธนาคารกรุงไทยได้ระบุประเด็นสาระสำคัญ โดยให้ความสำคัญกับประเด็นหลัก ได้แก่
  • การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ และวัฒนธรรมบรรษัทภิบาล
  • Digitalization
  • การนำเสนอบริการทางการเงินต่อสังคม

การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ และวัฒนธรรมบรรษัทภิบาล
  • การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ และวัฒนธรรมบรรษัทภิบาล
  • Digitalization
  • การนำเสนอบริการทางการเงินต่อสังคม

Business Case
ธนาคารกรุงไทยดำเนินธุรกิจ ด้วยหลักการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ และกฎหมาย และความความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม เพื่อสร้างความไว้วางใจต่อสาธารณะ ด้วยการระเมิดหลักการบริหารจัดการให้บริการลูกค้าอย่างเป็นธรรม (Market Conduct) จะทำให้ธนาคารถูกปรับจากหน่วยงานกำกับ และเพิ่มความเสี่ยงจากการทุจริต ธนาคารกรุงไทยได้ส่งเสริมวัฒนธรรมการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ และการกำกับดูแลกิจการ ที่จะเป็นรากฐานสำคัญของควาวมสำเร็จ และการพัฒนาอย่างยั่งยืนของธนาคารกรุงไทย
Business strategies
ธนาคารได้ดำเนินโครงการ กรุงไทยคุณธรรม มาตั้งแต่ปี 2561 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะยกระดับวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่ทนต่อการทุจริตคอร์รัปชั่น กรุงไทยคุณธรรม ดำเนินโครงการด้วย ยุทธศาสตร์ 3 ป. (ปลูกจิตสำนึก ป้องกัน ปรับเปลี่ยน)
โครงการกรุงไทยคุณธรรมได้ใช้หลักการระเบิดจากข้างใน เพื่อให้กระตุ้นให้ผู้บริหาร และพนักงานมีส่วนร่วมกับการระดมความคิด เพื่อพัฒนาการดำเนินงานของธนาคารผ่านโครงการ Qaulity Assurance ที่ประกอบไปด้วยโครงการ 1 หน่วยงาน 1 แผนความยั่งยืน ภายใต้หลักการ ปัญหาที่อยากแก้ ความดีที่อยากทำ โดยระหว่างปี 2562-2563 มีผู้เสนอโครงการทั้งหมด 1,540 แผนงาน โดยเป็นแผนงานจากสาขา 1,221 แผนงาน และ 319 แผนงานจากหน่วยงานอื่นๆ จากสำนักงานใหญ่ ซึ่งบางแผนงานถูกนำไปดำเนินการจริง
กลยุทธ์สู่ความยั่งยืน
อีกหนึ่งโครงการหลัก คือ โครงการ Compliance Champion ที่ใช้กระบวนการ Design Thinking ผ่านกิจกรรม Hackathon เพื่อผลักกันให้เกิดการมีส่วนร่วมของพนักงาน หาแนวทางที่ดีที่สุดในการที่จะผนวกกฎหมาย และกฏระเบียบต่างๆ เข้าไปอยู่ในกระบวนการปฏิบัติงานของธนาคาร สร้าง Mideset ด้านการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ การปลูกฝังวัฒนธรรมด้าน Integrity โดยในปี 2563 ธนาคารได้คัดเลือก 5 โครงการ ได้แก่ MC Chat Support, Document One Stop Service, Krungthai One MC, Your Choice Your Future and Next MOVE โดยพนักงานจะทำการทดสอบ และโหวตเพื่อหาโครงการชนะเลิศ ต่อไป


Long-Term Target/Metric: ความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กระบวนการที่โปร่งใส ความพึงพอใจของพนักงาน และจำนวนการระเมิดกฎหมายเป็นศูนย์
Target Year: 2021
Executive Compensation: กรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้บริหารสายงาน มี KPI ด้าน การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ การควบคุม และธรรมาภิบาล

Business Case
ด้วยเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต และการทำธุรกิจ เพื่อให้ธนาคารเติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยธนาคารได้นำเทคโนโลยีชั้นสูงมาใช้ เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางดิจิทัล ที่สามารถให้บริการลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความปลอคภัยที่มีมากขึ้น และลดต้นทุนการดำเนินงาน นอกจากนี้ ธนาคารยังนำเสนอและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการทางดิจิทัล รวมถึงพัฒนา ดิจิทัลแพลทฟอร์มเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Business strategies
X2G2X
กลยุทธ์เพื่อการเติบโตทางธุรกิจจากคู่ค้าของลูกค้า
กลยุทธ์นี้เป็นการขยายผลจากลูกค้าหลักของธนาคาร คือ รัฐบาล ถึงธุรกิจ คู่ไปกับห่วงโซ่อุปทานของคู่ค้าของลูกค้า เช่น ตัวแทนจัดจำหน่าย วิสาหกิจชุมชน ร้านค้าปลีก ร้านอาหาร โรงแรม ธุรกิจเช่ารถ และอื่นๆ ในห่วงโช่ โดยทั้งหมดจะเชื่อมโยงผ่านเทคโนโลยี ที่จะนำไปสู่การสร้าง Ecosystem ของธนาคาร ทั้งนี้ ธนาคารสามารถนำเสนอบริการทางการเงินที่ตรงตามความต้องการ ซึ่งระบบนี้ จะเป็นการสร้าง Digital Platform สำหรับคนไทย และธนาคารสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ตลอดทั้งห่วงโซว่อุปทาน รวมถึง ธนาคารสามารถนำเสนอสินชื่อให้ลูกค้าได้อย่างเหมาะสม
X2G2X
การชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
การชำระเงินทางดิจิทัล
ธนาคารกรุงไทยมีความมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมการจ่ายเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดการใช้ธนบัตร และการแพร่เชื้อโรค COVID-19 โดยระบบการจ่ายเงิน รับเงิน และโอนเงินเป็นเรื่องสะดวกสบายด้วยระบบ QR การจ่ายเงินโดยไม่มีการสัมผัส และบัตรชิปการ์ด เครดิตการ์ด และเดบิตการ์ด นอกจากนี้ ธนาคารยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลการทำธุรกรรมของลูกค้า เพื่อนำเสนอสินเชื่อได้ตรงตามความต้องการ รวมถึงระบบดิจิทัลแพลทฟอร์มของธนาคาร ที่มีบริการบริจาคเงินอิเล็กทรอนิกส์ “เติมบุญ” ซึ่งข้อมูลการบริจาคจะถูกส่งไปยังกรมสรรพากร เพื่อออกเอกสารลดหย่อนภาษี
E Payment
E onboarding with facial recognition
การเปิดบัญชีธนาคาร ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
โดยธนาคารสามารถสร้างการระบบการเชื่อมโยงข้อมูล ที่เชื่อมกับกรมการค้าภายใน และหน่วยงานรัฐอื่นๆ เพื่อรับข้อมูล KYC มากเพียงพอที่จะเปิดบัญชีกับธนาคาร ทั้งนี้ สำหรับลูกค้าใหม่ การยืนยันตัวตนด้วยข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียนสามารถดำเนินการได้ด้วยระบบการจดจำใบหน้า หรือ Facial Recognition
E onboarding with facial recognition
Krungthai NEXT
แอปพลิเคชันมือถือที่ให้บริการทางการเงินแบบครบวงจร
เพื่อตอบสนองวิถีชีวิตในยุคปัจจุบันภายใต้แนวคิด ชีวิตครบ แอปเดียวอยู่ ที่ครอบคลุมการทำธุรกรรมพื้นฐาน และบริการอื่นๆ เช่น การโอนเงินภายใน และระหว่างประเทศ การโอนเงินโดย พร้อมเพย์การจ่ายค่าบิล การซื้อสินค้าและบริการตามมาตรฐาน QR Code การแลกเปลี่ยนเงินตราในอัตราที่ดีที่สุดด้วยบัตร Krungthai Travel Card บริการซื้อขายหุ้นกู้ และหุ้นออนไลน์ รวมถึงการเปิดกองทุนด้วยตัวเอง
Krungthai NEXT
Krungthai Connext
บริการแจ้งเตือนการทำธุรกรรมผ่านแอปพลิเคชันไลน์
ที่มีความปลอดภัย และมีความสะดวก
Krungthai Connext
Long-Term Target/Metric: ติด 1 ใน 3 ของ Digital Bank
Target Year: 2021
Executive Compensation: ธนาคารมีตัวชี้วัดฌฉพาะสำหรับกรรมการบริหาร

Business Case
จากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโลกธุรกิจ และ Digital Disruption ทำให้ทุกธนาคารต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงองค์กรครั้งใหญ่ เพื่อให้บริการทางการเงิน โดยกระบวนการ Digitization บริการทางการเงินนั้น ครอบคลุมถึงกลุ่มลูกค้า และคนรุ่นใหม่ที่เติบโตมากับเทคโนโลยี และรวมถึงสามารถลดต้นทุนการดำเนินงาน ที่ส่งผลให้ธนาคารสามารถให้บริการลูกค้ารายย่อยที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ทั้งนี้ ในฐานะรัฐวิสาหกิจ ธนาคารให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์กับรัฐบาล โดยธนาคารได้ยกระดับศักยภาพการแข่งขัน ผ่านความสัมพันธ์กับรัฐบาล ด้วยการสร้าง Banking Platform ระบบเปิด และ Ecosystem ด้วยระบบแพลทฟอร์ม ธนาคารสามารถช่วยเหลือประชาชน เข้าถึงบริการทางการเงินผ่านระบบธนาคารดิจิทัล ส่งเสิรระบบการเงินที่ครอบคลุม นอกจากนี้ การสนับสนุนโครงการรัฐบาลยังส่งเสริมภาพลักษณ์ของธนาคาร และ Brand Loyalty จากการเข้าร่วมโครงการของประชาชน ที่อาจกลายมาเป็นลูกค้าใหม่ของธนาคาร

Business strategies
ในฐานะสถาบันการเงินที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นเสาหลักของเศรษฐกิจประเทศ ธนาคารกรุงไทยให้บริการทางการเงินสำหรับประชาชนในทุกระดับ โดยการมีส่วนร่วมกับโครงการรัฐบาลผ่านการทำ Banking Platform ด้วยระบบเปิดสามารถช่วยส่งเสริมการเติบโตและพัฒนาเศรษฐกิจไทย และธนาคารสามารถเติบโตได้อย่างยั้งยืน
โครงการ “ชิม ช้อป ใช้”
โครงการสนับสนุนการท่องเที่ยว
ธนาคารกรุงไทยในฐานะธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ได้มีส่วนร่วมกับโครงการนี้ ด้วยการจัดทำเว็บไซต์ และแอปพลิเคชัน เพื่อสนับสนุนการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดย ธนาคารได้พัฒนาแอปพลิเคชันมือถือ เป๋าตัง ที่รัฐบาลสามารถใช้เป็นช่องทางในการโอนเงินให้กับประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ สำหรับร้านค้า ผู้ประกอบการ SME ส่วนใหญ่ รวมถึงระกับชุมชน ธนาคารได้พัฒนาแอปพลิเคชั่นมือถือ ถุงเงิน เพื่อรับการชำระเงิน
Chim Shop Chai
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
ธนาคารได้รับความไว้วางใจจาก กยศ. ให้บริหารจัดการกองทุนฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539
โดยได้พัฒนาระบบกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาแบบดิจิทัล เพื่อเป็นไปตามเป้าหมายของกองทุนฯ ในเรื่องของ Paperless และการเชื่อมโยงของฐานข้อมูลการยืนยันตัวตนแบบดิจิทัล ระหว่างรัฐบาล และหน่วยงานเอกชน โดยจะทำให้การบริหารจัดการมีความรวดเร็ว และปลอดภัย สำหรับนักเรียน และผู้จัดการกองทุน
The Student Loan Fund
Smart Healthcare
การแก้ไขปัญหาทางการเงิน สำหรับบริการของโรงพยาบาล และบริการทางสาธารณสุข
ด้วย 5 วิธีการ ได้แก่ การเช็คอินด้วยตัวเอง แพลทฟอร์ม Al Chatbot โทรเวชกรรม และ Remote Hospital การจ่ายเงินด้วยตนเอง และ การใช้บล๊อกเชน เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลด้านสุขภาพ โดยโครงการดังกล่าวจะถูกใช้ทั้งสำหรับโรงพยาบาลรัฐบาล และเอกชนที่เข้าร่วมโครงการสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้ ธนาคารจะให้บริการทางการเงินแบบ One-Stop Service สำหรับโรงพยาบาล เช่น บริการจัดการทางการเงินโดยผ่านระบบ Krungthai Corporate Online ระบบชำระเงินผ่านเครื่อง EDC การจ่ายเงินด้วยตัวเองผ่านบัตรเดบิต บัตรเครดิต และ QR Code ผ่านเครื่องจ่ายเงิน ระบบบริจาคเงินอิเล็กทรอนิกส์ และระบบ Payroll
Smart Healthcare
บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
บัตรเงินสดสำหรับผู้มีรายได้น้อย
เพื่อรับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลสำหรับความต้องการพื้นฐาน โดยธนาคารกรุงไทยทำงานร่วมกับกรมบัญชีกลาง เพื่อพัฒนาบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และได้แจกบัตร 14.6 ล้านใบ ทั้งนี้ ผู้มีรายได้น้อยสามารถใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่ร้านธงฟ้าประชารัฐ และร้านค้าทั่วไปที่เข้าร่วมโครงการของรัฐบาล เพื่อซื้อสินค้าราคาถูก และได้รับเบี้ยยังชีพ เพื่อโดยสารรถเมล์ รถไฟฟ้า MRT BTS และรถไฟ เนื่องจากความแตกต่างในเรื่องของค่าครองชีพ และการให้บริการของรัฐบาลในพื้นที่ต่างๆ จำนวนเงินในบัตร และเบี้ยยังชีพ จะขึ้นอยู่กับบริเวณที่ลงทะเบียน
Government Welfare Card
โครงการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให่้กับนักท่องเที่ยว
แอปพลิเคชั่นมือถือสำหรับนักท่องเที่ยวเพื่อรับภาษีคืน
ธนาคารได้ทำงานร่วมกับกรรมสรรพากร กรมสรรพสานมิตร นำเทคโนโลยีบล๊อกเชนเข้ามาใช้จัดการคืนภาษีเงินได้ด้วยแอพพลิเคชั่นมือถือ โดยเทคโนโลยีบล๊อกเชนจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐบาล ด้วยการลดกระบวนการยืนยันตัวด้วยเอกสาร (กว่า 10 ล้านแผ่นต่อปี) และลดระยะเวลาดำเนินการการคืนภาษีเงินได้ที่เคาท์เตอร์ อีกทั้ง ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายการจัดการเงินสด และสามารถใช้ในการจัดการข้อมูลการเดินทางเข้า และออก ทันที โดยไม่ต้องรอถึง 2 เดือน
VAT Refunds for Tourists
ระบบศาลยุติธรรม
ดิจิทัลแพลทฟอร์มที่สนับสนุนบริการการจ่ายเงิน และการยื่นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึง ระบบการจ่ายเงินออนไลน์ตามเวลาจริง
การยื่นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ทนายความสามารถยื่นฟ้องศาลในคดีแพ่งผ่านระบบ Krungthai Corporate Online ของศาลยุติธรรม และสามารถจ่ายค่าบริการผ่านช่องทางของธนาคาร
E Court
One baht bond
พันธบัตรไร้ใบตราสารที่สามารถจองได้โดยแพลทฟอร์มโทรศัพท์มือถือ
ธนาคารได้ทำงานร่วมกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เพื่อสนับสนุนการลงทุนผ่านพันธบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถออก และขายพันธบัตรรัฐบาล รวมถึงการรับฝากหลักทรัพย์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยประชาชนในทุกระดับสามารถเข้าถึงตลาดแรกแบบอิเล็ทรอกนิกส์ รวมถึงเป็นระบบที่มีความยืดหยุ่น และสามารถขยายไปทำในตลาดรองได้ และช่วยเพิ่มความโปร่งใส ความน่าเชื่อถือ และลดเวลากระบวนการจัดการ นอกจากนี้ เทคโนโลยีบล็อกเชนยังสามารถช่วยประชาชนลงทุนผ่านการซื้อพันธบัตร สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการ ด้วยการลดเวลาในการออกพันธบัตรจาก 15 วัน เหลือ 2 วัน โดย แพลทฟอร์มช่วยสนับสนุนเรื่อความครอบคลุมทางการเงิน และเพิ่มโอกาสให้กับนักลงทุนรายย่อย ที่ไม่คุ้นเคยกับพันธบัตรในตลาดแรก ด้วยราคาพาร์เพียงแค่ 1 บาท และเปิดโอกาสให้กับคนไทยรุ่นใหม่เข้าถึงตลาดทุน ผ่านแพลทฟอร์มแบบใหม่ที่ตัวเองที่ความคุ้นเคย
One baht bond
“เรา ไม่ ทิ้ง กัน”
เว็บไซต์ลงทะเบียนออนไลน์
เพื่อให้ความช่วยเหลือคนทำงานอิสระได้ลงทะเบียนรับเงินช่วยเหลือในช่วงโควิท -19 โดยเงินช่วยเหลือจะถูกโอนผ่านบัญชีพร้อมเพย์
Rao mai ting kan
“ไทยชนะ”
แพลทฟอร์มเพื่อจัดการการแพร่เชื้อโรคโควิท - 19
โดยธนาคารกรุงไทยได้สร้างแพลทฟอร์มสำหรับรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลที่ไปยังบริเวณต่างๆ เช่น ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล และสถานที่ต่างๆ ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สามารถใช้ข้อมูล เพื่อวิเคราะห์ และระบุคนที่มีโอกาสติดเชื้อโควิท - 19
Thaichana
“เราเที่ยวด้วยกัน”
มาตราการกระตุ้นการท่องเที่ยว
เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของสาธารณะด้วยการช่วยเหลือการท่องเที่ยวภายในประเทศ ธนาคารกรุงไทยได้สร้างเว็บไซต์ และแอปพลิเคชั่น สำหรับนักท่องเที่ยว และร้านค้าได้ลงทะเบียน โดยโปรโมชั่นต่างๆ จะถูกส่งไปถึงนักท่องเที่ยวผ่านแอปพลิเคชั่นมือถือ เป๋าตัง และผู้ได้รับสิทธิสามารถใช้ voucher อิเล็กทรอนิกส์ที่่ร้านอาหาร ร้านค้า และโรงแรม ที่ลงทะเบียน
Travel Together
Long-Term Target/Metric: ติด 3 อันดับแลกของดิจิทัลแบงค์กิ้ง
Target Year: 2021
Executive Compensation: The Bank has specific KPIs for relevant Management Committee.

การระบุประเด็นสำคัญ ธนาคารได้กำหนดประเด็นที่มีความสำคัญต่อการดำเนินงานด้านความยั่งยืนขององค์กร ให้สอดคล้องกับความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย