คำถามที่พบบ่อย
-
สิทธิ์ในการซื้อจองสลากในแต่ละงวดเป็นอย่างไร?
แต่ละคนจะสั่่งจองได้ 1 ครั้งต่องวดเท่านั้น
-
กรณีไม่ได้รับการจัดสรรสลากฯ ธนาคารจะคืนเงินค่าจองสลากด้วยวิธีใด?
ธนาคารจะโอนเข้าบัญชีกรุงไทยภายใน 3 วันทำการ
-
วันที่ซื้อจองสลากกินแบ่งรัฐบาลในแต่ละงวด คือวันไหน?
ในแต่ละงวดจะให้มีการซื้อจองล่วงหน้าต่างกัน ซึ่งจะมีการประกาศล่วงหน้า
-
สิ่งที่ต้องใช้สำหรับการเข้าสู่ระบบ มีอะไรบ้าง?
- Company ID ธนาคารจะแจ้งผ่านทางโทรศัพท์หลังจากสมัคร ใช้งานเรียบร้อยแล้ว หากไม่ได้รับสามารถสอบถามได้ที่สาขาที่ใช้บริการ
- User ID - ธนาคารจะจัดส่ง User ID ผ่านทางอีเมล์ตามที่แจ้งไว้ตอนสมัคร
- รหัสผ่านสำหรับใช้บริการ - ธนาคารจะจัดส่งรหัสผ่านทางอีเมล์ตามที่แจ้งไว้ตอนสมัคร
-
เลือกให้ธนาคารเป็นผู้สร้าง Company User ให้อัตโนมัติได้หรือไม่?
ได้ เมื่อต้องการให้เป็นการอนุมัติรายการเพียงคนเ ดียวและระบุในแบบฟอร์มการสมัครเพื่อให้ธนา คารสร้างชื่อผู้ใช้งานแบบ Company User Signle สามารถ Login เข้าระบบ User - Sigle 1 แล้วใช้งานได้ทันที
-
เมื่อสมัครแล้ว จะได้รับอะไรบ้าง?
หลังจากสมัครครั้งแรก ธนาคารจะให้สิทธิผู้ใช้งานระบบ 2 ท่าน (Admin1 และ Admin2) ตามใบสมัคร ซึ่งลูกค้าสามารถเพิ่มชื่อผู้ใช้งานคนอื่นๆในบริ ษัทได้ต่อ
-
เข้าใช้งานที่ไหน?
เข้าที่เว็บไซต์ธนาคารกรุงไทย www.ktb.co.th
- เลือก Krungthai Corporate Online
- เลือก Krungthai Corporate Online for General Customers เพื่อเข้าสู่ระบบ
-
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มใบสมัครได้ที่ไหน?
ขั้นตอนการดาวน์โหลด
- เข้าเว็บไซต์ธนาคารกรุงไทย www.ktb.co.th
- เลือก Krungthai Corporate Online
- เลือก "ใบคำขอใช้บริการ"
-
สมัคร KTB Corporate Online ได้ที่ไหน?
สมัครได้ที่สาขาธนาคารที่เปิดบัญชีไว้ หรือเจ้าหน้าที่พนักงานที่ดูแลท่าน
-
KTB Corporate Online ให้บริการด้านใดบ้าง?
ให้บริการจ่ายเงิน รับเงิน ดูข้อมูลต่างๆ และช่วยเรื่องบริหารเงินในการทำธุรกิจ
-
กรณีที่หากทำรายการจองซื้อหลักทรัพย์ไม่สำเร็จ
ตัวอย่างที่พบบ่อยหากผู้จองซื้อทำขั้นตอนการจองซื้อในระบบถูกต้อง มีเงินในบัญชีเพียงพอสำหรับการจองซื้อการทำรายการจองซื้อไม่สำเร็จ หรืออาจเกิดได้จากคุณสมบัติผู้จองซื้อบางประการ ยกตัวอย่างเช่นติดเงื่อนไขลูกค้าเปราะบางของธนาคาร (ขอให้พิจารณาเงื่อนไขลูกค้าเปราะบางเพิ่มเติม)
-
เมื่อเข้าระบบจองซื้อหลักทรัพย์ Money Connect ผ่านแอปพลิเคชั่น Krungthai NEXT แล้ว ระบบยังแสดงหน้าจอให้ Log in เข้าระบบ ด้วย Username และ Password
กรณีนี้เกิดขึ้นได้ เนื่องจากแอปพลิเคชั่น Krungthai NEXT ยังไม่ได้ Update ให้เป็นปัจจุบัน เพียงท่านเข้าไปอัปเดท Krungthai NEXT เวอร์ชั่นล่าสุดก็สามารถทำรายการจองซื้อหลักทรัพย์ผ่านมือถือได้สะดวกรวดเร็ว
-
เข้าไปที่ ระบบ Money Connect by Krungthai แล้วไม่เห็นหลักทรัพย์ที่เสนอขาย อาจเกิดจากกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้
- เวลาที่ผู้ลงทุนเข้าไปจองซื้ออาจไม่ใช่ช่วงวันที่เปิดเสนอขายหลักทรัพย์
- หลักทรัพย์นั้นอาจมีโครงสร้างซับซ้อน อาทิ ตราสารด้อยสิทธิ หรือ หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน (Hybrid Bond) หรือหลักทรัพย์ที่เสนอขายให้กับผู้ลงทุนสถาบัน และ/หรือ ผู้ลงทุนรายใหญ่ ซึ่งจะไม่เปิดจองซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ผ่าน ระบบ Money Connect by Krungthai
-
จะรู้ได้อย่างไรว่ามีหลักทรัพย์อะไรที่เสนอขายในช่วงนั้นและสามารถจองซื้อ ผ่านระบบ Money Connect ได้
- ผู้ลงทุนสามารถดูรายละเอียดการเสนอขายหลักทรัพย์นั้นๆ จากข้อมูลสรุปสาระสำคัญ หรือ หนังสือชี้ชวน ในส่วนข้อมูลการเสนอขาย ที่ยื่นต่อสำนักงาน ก.ล.ต. หรือ
- สามารถเข้า ระบบ Money Connect by Krungthai เพื่อดูรายการหลักทรัพย์ที่สามารถจองซื้อได้ หรือ
- สอบถามผ่านธนาคารกรุงไทยทุกสาขา หรือติดต่อ Cell Center โทร 02-111-1111
-
หลักทรัพย์ทุกประเภท ที่ธนาคารกรุงไทยจัดจำหน่าย สามารถจองซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ระบบ Money Connect ได้ใช่หรือไม่
ไม่ใช่ อาจมีหลักทรัพย์บางประเภทที่มีโครงสร้างซับซ้อน ตัวอย่างเช่น Hybrid Bond (หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน ไถ่ถอนเมื่อเลิกบริษัท) ตราสารด้อยสิทธิของธนาคาร หรือหลักทรัพย์ที่เสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบัน และ/หรือ ผุ้ลงทุนรายใหญ่ เป็นต้น จะไม่เปิดเสนอขายผ่านระบบจองซื้อหลักทรัพย์ออนไลน์ (Money Connect by Krungthai) หากผู้ลงทุนสนใจจองซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าว สามารถติดต่อผ่านสาขาของธนาคารกรุงไทยได้
-
หลักทรัพย์อะไรบ้างที่จองซื้อ ผ่านระบบ Money Connect
หลักทรัพย์ที่ธนาคารกรุงไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย อาทิเช่น
- ตราสารหนี้เอกชน เช่น หุ้นกู้ (Corporate Debentures) คือ (Corporate Debentures) คือ ตราสารการกู้เงินระยะยาวจากผู้ลงทุน ซึ่งออกโดยบริษัทมหาชนจำกัด บริษัทจำกัด รวมถึงนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้ง และผู้ถือตราสาร หรือ ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ย ตามระยะเวลา และจะได้รับคืนเงินต้นเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาตามที่กำหนด
-
หน่วยลงทุน (Investment Unit) ได้แก่
- หน่วยทรัสต์ (Real Estate Investment Trust) คือ หลักทรัพย์ของกองทรัสต์ที่ลงทุนในทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ โดยหลักทรัพย์ดังกล่าวสามารถซื้อขายในตลาดรองได้ (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย)
- หน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) คือ หลักทรัพย์ของกองทุนรวมที่ลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะในวงกว้าง โดยหลักทรัพย์ดังกล่าวสามารถซื้อขายในตลาดรองได้ (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย)
- หุ้นสามัญ (Common Stock) คือ ตราสารที่ออกโดยบริษัทมหาชนจำกัดหรือเสนอขายโดยผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทมหาชนจำกัด ที่ต้องการระดมทุนจากประชาชนทั่วไป โดยผู้ถือหุ้นสามัญจะมีสิทธิร่วมเป็นเจ้าของบริษัทและมีสิทธิในการออกเสียงลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้นกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trust : REIT) คือ เป็นกองทรัพย์สินที่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์มีลักษณะเป็นกองทรัสต์ ไม่ใช่นิติบุคคลเหมือนกองทุนอสังหาริมทรัพย์
-
สามารถยกเลิกการใช้บริการ Krungthai Connext ได้หรือไม่?
ได้โดยลูกค้าสามารถเข้าเมนู “ตั้งค่า” จากนั้นเลือก “ยกเลิก Krungthai Connext” กด “ยืนยัน”
-
สามารถใช้บริการ Krungthai Connext บนคอมพิวเตอร์ หรือบนแท็บเลตได้หรือไม่?
บริการ Krungthai Connext สามารถใช้งานได้บนสมาร์ทโฟนเท่านั้น
-
สามารถใช้บริการ Krungthai Connext กับสมาร์ทโฟนหลายครื่องได้หรือไม่?
Krungthai Connext สามารถใช้บริการบน LINE ID ที่ผูกบริการกับ Krungthai Connext เพียงบัญชีเดียวเท่านั้น
-
Krungthai Connext ปลอดภัยหรือไม่?
ปลอดภัย มั่นใจได้ เป็นเพียงบริการแจ้งเตือนและให้ข้อมูลข่าวสาร ไม่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้
-
บริการ Krungthai Connext มีค่าธรรมเนียมหรือไม่?
ไม่มีค่าธรรมเนียม
-
Krungthai Connext แตกต่างจาก Krungthai Care อย่างไร?
“Krungthai Connext” เป็นช่องทางให้บริการใหม่ของธนาคารที่แจ้งข้อมูลลูกค้าแบบเฉพาะรายบุคคล เช่น บริการแจ้งเตือนเงิน-ออกบัญชี, สิทธิพิเศษที่ตรงใจลูกค้า เป็นต้น รวมทั้งเป็นช่องทางบริการที่สะดวก รวดเร็ว และไม่มีค่าธรรมเนียม โดย “Krungthai Care” เป็นช่องทางเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทั่วไปของธนาคาร
-
Krungthai Connext คืออะไร?
ช่องทางใหม่ในการให้ข้อมูลข่าวสาร และแจ้งเตือน เงินเข้า เงินออกบัญชีออมทรัพย์และกระแสรายวัน แบบไม่มีค่าใช้จ่าย ผ่าน LINE บนมือถือ พร้อมให้บริการสำหรับลูกค้าบุคคลทั่วไปของธนาคาร
-
สามารถทำธุรกรรมอะไรผ่าน Krungthai SmartFX ได้บ้าง
สามารถซื้อขายได้ทั้ง Same Day และ Forward ได้จนถึง 1 ปี (ตามวงเงินที่ได้รับอนุมัติ)
-
สามารถเข้าใช้งานผ่านช่องทางใด
รองรับการใช้งานทั้งโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และ Smart Device
-
ใครบ้างที่สามารถสมัคร Gold Wallet ได้
ผู้ใช้บริการต้องมีสัญชาติไทย มีบัตรประจำตัวประชาชนและมีอายุตั้งแต่ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
-
เอกสารที่ต้องใช้ในการเปิดบัญชี Gold Wallet มีอะไรบ้าง?
- ใช้เพียงบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ใช้บริการเท่านั้น
-
ผู้ใช้บริการ 1 คนสามารถเปิดบัญชี Gold Wallet ได้กี่บัญชี?
- ผู้ใช้บริการสามารถเปิดบัญชี Gold Wallet ได้ 1 บัญชี ต่อ 1 บัตรประชาชน เท่านั้น
-
ผู้ใช้บริการสามารถผูกบัญชี Gold Wallet กับบัญชีธนาคารอื่นได้หรือไม่?
ไม่สามารถทำได้ ผู้ใช้บริการต้องผูกบัญชี Gold Wallet กับบัญชีของธนาคารกรุงไทยเท่านั้น
-
เวลาเปิด-ปิดของแพลตฟอร์ม Gold Wallet คือ?
- วันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 07.00น. – 02.00 น. ของวันถัดไป
-
ทองที่ซื้อ-ขายบนแพลตฟอร์ม Gold Wallet เป็นทองประเภทอะไร?
เป็นทองแท่งความบริสุทธิ์ 99.99% ตามมาตรฐานโลก และทองแท่งความบริสุทธิ์ 96.5% ตามมาตรฐานสมาคมค้าทองคำแห่งประเทศไทย
-
สามารถซื้อ-ขายทองบนแพลตฟอร์ม Gold Wallet ด้วยเงินสกุลอะไร?
ผู้ใช้บริการต้องทำการซื้อ-ขายทองกับร้านทองด้วยเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ แต่สามารถเลือกตัด/รับเงินได้ทั้ง บัญชีสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (e-FCD) หรือ บัญชีสกุลเงินบาท ที่เปิดไว้กับธนาคารกรุงไทย
- กรณีที่เลือกตัด/รับเงินด้วยบัญชีสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (e-FCD) ในขาซื้อทอง ผู้ใช้บริการต้องทำการแลกเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯล่วงหน้าเอาไว้ในบัญชีให้เพียงพอก่อนทำการซื้อทอง หากไม่เพียงพอระบบจะทำการแจ้งเตือนเพื่อให้ทำการซื้อเงินสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯเพิ่มเติม
- กรณีที่เลือกตัด/รับเงินด้วยบัญชีสกุลเงินบาท ระบบจะทำการแลกเงินบาทเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ณ อัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น เพื่อซื้อ-ขายทองโดยอัตโนมัติ ทั้งนี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการที่ไม่ต้องการแลกเงินสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯไว้ล่วงหน้า
-
บนแพลตฟอร์ม Gold Wallet แสดงราคาทองด้วยเงินสกุลอะไร?
ผู้ใช้บริการสามารถกำหนดการแสดงราคาทองบนแพลตฟอร์มแสดงราคาทองเป็น เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ แสดงราคาทองเป็นสกุลเงินบาทเทียบเท่าสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐก็ได้
-
ทําไมต้องซื้อ-ขายทองเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ?
- การซื้อ-ขายทองบนแพลตฟอร์ม Gold Wallet เป็นแบบ Real-time โดยอ้างอิงจากราคา Gold Spot ในตลาดโลก ซึ่งซื้อ-ขายกันด้วยเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ (XAU/USD) ดังนั้นเพื่อเป็นการสะท้อนถึงการเคลื่อนไหวของราคาทองในตลาดโลก และหลีกเลี่ยงปัจจัยความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่จะเข้ามากระทบต่อราคาทอง แพลตฟอร์ม Gold Wallet จึงเปิดให้ผู้ใช้บริการซื้อ-ขายทองด้วยสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
-
บัญชี e-FCD คืออะไร?
เป็นบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทย ประเภทบัญชีออมทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้ตัดเงินสำหรับค่าซื้อทอง หรือรับเงินสำหรับค่าขายทอง บนแพลตฟอร์ม Gold Wallet และทำธุรกรรมใด ๆ ตามข้อตกลงเท่านั้น โดยผู้ใช้บริการสามารถผูกบัญชี e-FCD นี้กับบัญชีเงินบาทของธนาคารกรุงไทย และกดแลกซื้อเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯเพื่อฝากเข้าบัญชี e-FCD หรือกดแลกขายเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯกลับเป็นเงินสกุลบาทได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ด้วยอัตราแลกเปลี่ยนพิเศษบนแพลตฟอร์ม Gold Wallet ในแอปฯ เป๋าตัง
-
เปิดบัญชี e-FCD บนแพลตฟอร์ม Gold Wallet เพื่อวัตถุประสงค์อะไร?
บัญชี e-FCD ของธนาคารกรุงไทย มีวัตถุประสงค์ในการให้บริการสำหรับเพื่อทำการซื้อ-ขายทองบน Gold Wallet Gold Wallet และทำธุรกรรมใด ๆ ตามข้อตกลงเท่านั้น ซึ่งระบบจะทำการเปิดบัญชี e-FCD ให้ผู้ใช้บริการทุกท่านโดยอัตโนมัติ แต่หากผู้ใช้บริการมีบัญชี e-FCD อยู่แล้ว ระบบจะแจ้งเตือนให้ทำการผูกบัญชีโดยไม่ต้องเปิดบัญชีใหม่ ทั้งนี้ผู้ใช้บริการจะได้รับดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ตามประกาศของธนาคาร และสามารถดูยอดเงินคงค้างหรือรายการเคลื่อนไหวทางบัญชีได้ ผ่านช่องทางแพลตฟอร์ม Gold Wallet และ Krungthai NEXT
-
มีบัญชี e-FCD แล้วแต่ไม่สามารถแลกเงินได้ เพราะเหตุใด?
อาจเกิดจากการที่บัญชีไม่ได้เคลื่อนไหวเกิน 1 ปี จึงทำให้บัญชีถูกปิดอัตโนมัติ ผู้ใช้บริการสามารถโทรแจ้ง call center ที่เบอร์ 02-111-1111 เพื่อประสานงานต่อไป
-
การซื้อ-ขายทองบนแพลตฟอร์ม Gold Wallet ต้องเสียภาษี Capital Gains Tax หรือไม่?
รายได้จากการทำธุรกรรมที่ซื้อ-ขายทองแท่งบนแพลตฟอร์ม Gold Wallet มีลักษณะเดียวกันกับการซื้อ-ขายทองแท่งผ่านที่หน้าร้านทอง ซึ่งภาระในการสำแดงภาษีจะเป็นของผู้ใช้บริการ
-
กำไร/ขาดทุนที่แสดงบน My Gold มีหลักการแสดงผลอย่างไร?
กำไร/ขาดทุน บนแพลตฟอร์ม Gold Wallet ถูกคำนวณจากราคาซื้อ-ขายเฉลี่ยหรือต้นทุนเฉลี่ยจากทุก ๆ รายการซื้อ-ขาย แยกรายร้านค้า สามารถแบ่งเป็น
-
การคำนวณกำไร/ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง (unrealized Profit/Loss USD) โดยมีสูตรการคำนวณดังนี้
(ราคาทองปัจจุบันต่อหน่วย – ต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วย*) x น้ำหนักทองที่ผู้ใช้บริการมีอยู่ทั้งหมดของร้านค้านั้น ๆ -
การคำนวณกำไร/ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง (unrealized Profit/Loss %) โดยมีสูตรการคำนวณดังนี้
(ราคาทองปัจจุบันต่อหน่วย – ต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วย*) x 100]/ต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วย*
ตัวอย่างเช่น- ผู้ใช้บริการมีทอง 99.99% กับร้านค้า A จำนวน 50 oz., ต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยอยู่ที่ 1,999.30 USD และราคาทองปัจจุบันต่อหน่วยอยู่ที่ 2,001.34 USD
- ผู้ใช้บริการจะมีกำไร/ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง (unrealized Profit/Loss USD) อยู่ที่ (2,001.34 – 1,999.30) x 50 = 102 หรือเท่ากับ กำไร 102 USD ซึ่งเมื่อแปลงเป็น กำไร/ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง (unrealized Profit/Loss % จะอยู่ที่ [(2,0001.34 – 1,999.30)x 100]/1,999.30 = 0.1% หรือ กำไร 0.1%
*หมายเหตุ: กำไร/ขาดทุนถูกคำนวณโดยใช้ค่าจริงที่ถูกบันทึกไว้ในระบบ อย่างไรก็ดีตัวเลขที่แสดงบน My Gold จะถูกปัดให้เหลือทศนิยม 2 ตำแหน่ง ซึ่งทำให้การใช้ตัวเลขแสดงบน My Gold มาคำนวณอาจจะไม่สามารถสะท้อนกำไร/ขาดทุนที่แท้จริงได้ แต่เป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด-
การคำนวณกำไร/ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง (unrealized Profit/Loss USD) โดยมีสูตรการคำนวณดังนี้
-
ช่องทางการติดต่อ ในกรณีที่ผู้ใช้บริการมีคำถามเพิ่มเติม หรือต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ?
สามารถติดต่อได้ที่ Call center เบอร์ 02-111-1111 ตลอด 24 ชม.
-
หากมีปัญหาในการใช้บริการหรือข้อสงสัยในการใช้เป๋าตังเปย์ บัตรเพลย์ คูปอง และภารกิจต่าง ๆ สามารถเสนอแนะหรือร้องเรียนได้ที่ช่องทางใดบ้าง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและเสนอแนะ โทร 02-111-1111 หรือ call.callcenter@krungthai.com
-
จะเข้าร่วมภารกิจได้อย่างไร แล้วเข้าได้จากช่องทางไหนบ้าง
เมื่อลูกค้าทำการสมัครเป๋าตังเปย์เรียบร้อยแล้ว จะสามารถเข้าไปดูภารกิจต่าง ๆ ได้ว่ามีภารกิจใดในขณะนั้นที่สามารถเข้าร่วมได้บ้าง โดยสามารถเข้าไปสู่หน้าภารกิจได้ 3 ช่องทาง คือ
- เข้าจากปุ่ม ภารกิจและเกม >> หน้ารวมภารกิจ (Mission Landing)
- เข้าจาก Banner โฆษณาที่หน้าเป๋าตังเปย์ >> หน้าสถานะของภารกิจ (Mission Tracking) **ยังไม่มีช่องทางนี้
- เข้าจากการแจ้งเตือนต่าง ๆ >> หน้าสถานะของภารกิจ (Mission Tracking)
-
ภารกิจ (Mission - Based Campaign) คืออะไร
ภารกิจ คือ รายการส่งเสริมการขายที่ให้ลูกค้าร่วมสนุกกับกิจกรรมหรือภารกิจต่าง ๆ เพื่อรับรางวัล เช่นคูปองส่วนลด, โบนัส, เงินคืน เป็นต้น
-
สามารถถ่ายภาพหน้าจอของคูปองแล้วเอาไปใช้แสดงที่หน้าร้านได้หรือไม่
ลูกค้าจำเป็นต้องกดใช้ และแสดงคูปองเพื่อรับสิทธิพิเศษขณะอยู่ที่ร้านค้าเท่านั้น ขอสงวนสิทธิ์ในการแสดงภาพถ่ายหน้าจอ (Capture) หรือนำรูปคูปองของบุคคลอื่นมาเพื่อรับสิทธิ์
-
วิธีใช้งานคูปองส่วนลด Copay ที่หน้าร้านค้า
กรณีกดเก็บคูปองก่อนสแกนจ่ายหน้าร้านค้า
- กดเข้าปุ่ม "เก็บคูปอง" บนเป๋าตังเปย์
- กดแถบ "คูปองของฉัน" ในหน้ารวมคูปอง
- กดเลือกคูปองที่ต้องการใช้
- กดปุ่ม "สแกนจ่ายด้วยเป๋าตังเปย์"
- ตรวจสอบรายละเอียดการชำระเงินและการใช้คูปองส่วนลดบนหน้าชำระเงิน และกด "ถัดไป"
- กดยืนยันการชำระเงิน
กรณีสแกนจ่ายหน้าร้านค้า ก่อนกดเก็บคูปอง- แสกนจ่ายด้วยเป๋าตังเปย์
- กรณีร้านค้ามีคูปองส่วนลด Copay ที่เข้าร่วมรายการ จะสามารถกดเก็บคูปองได้
- ไปหน้ากดเก็บคูปองที่ต้องการใช้ พร้อมกด "เก็บ" และกด "ใช้"
- ตรวจสอบรายละเอียดการชำระเงิน และการใช้คูปองส่วนลดบนหน้าสรุปการชำระเงิน และกด "ถัดไป"
- กดยืนยันการชำระเงิน
-
วิธีใช้งานคูปองทั่วไปที่หน้าร้านค้า หรือ แพลตฟอร์มออนไลน์
- กดเข้าปุ่ม "เก็บคูปอง" บนเป๋าตังเปย์
- กดแถบ "คูปองของฉัน" ในหน้ารวมคูปอง
- กดเลือกคูปองที่ต้องการใช้ และกด "ใช้คูปอง"
- กดปุ่ม "ยืนยันการใช้คูปอง"
- ในกรณีที่คูปองมีการตั้งค่าจับเวลาการใช้งาน จะพบการแจ้งเตือนการจับเวลาและให้กดยืนยันการใช้คูปอง (ถ้าไม่มีการตั้งค่าจับเวลา ข้ามไปข้อ 6)
- ระบบจะแสดงรหัสคูปอง หรือ QR/ Barcode
- ลูกค้าแสดงรหัสคูปอง หรือ QR/ Barcode แก่ทางร้านค้าเพื่อรับสิทธิพิเศษ
- กรณีนำรหัสคูปองไปใช้บนแพลตฟอร์มออนไลน์ ให้กดคัดลอกรหัสคูปอง และนำไปกรอกในระบบคูปองของแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ต้องการ เพื่อรับสิทธิพิเศษ
- เจ้าหน้าที่หน้าร้านค้ากดปุ่ม "ใช้คูปองแล้ว" เมื่อทำรายการสำเร็จ
-
วิธีการเก็บคูปอง
- กดปุ่ม "เก็บคูปอง" บนหน้าแรกของเป๋าตังเปย์
- เข้าหน้ารวมคูปอง จะพบกับคูปองสิทธิพิเศษต่าง ๆ มากมาย
- อ่านรายละเอียด ศึกษาเงื่อนไขของคูปองที่ลูกค้าสนใจ และกดเก็บคูปอง
- คูปองที่ถูกเก็บเรียบร้อยแล้ว จะสามารถตรวจสอบและเปิดดูในแถบ "คูปองของฉัน"
-
คูปอง คืออะไร?
คูปองสิทธิพิเศษ คือ คูปองที่สามารถกดเก็บได้บนเป๋าตังเปย์ โดยคูปองส่วนลดจะมี 2 ประเภท
- คูปองทั่วไป คือ คูปองประเภทที่สามารถนำไปใช้งานที่หน้าร้านค้าผ่านการแสดงรหัสคูปอง หรือ QR/ Barcode หน้าร้านค้า
- คูปองส่วนลด Copay คือ คูปองประเภทที่สามารถนำไปใช้ร่วมกับการชำระค่าสินค้าผ่านเป๋าตังเปย์ได้
-
ใช้บัตรเพลย์ใช้ได้อย่างไรบ้าง
ลูกค้าสามารถใช้จ่ายบัตรบัตรเพลย์ได้ที่ร้านค้าที่มีเครื่องอ่าน EDC และสามารถใช้จ่ายออนไลน์กับร้านค้าที่รับบริการจ่ายเงินออนไลน์ได้ เมื่อลูกค้าสมัคร 3D Secure สำเร็จ อีกทั้งลูกค้าสามารถใช้บัตรเพลย์ในการเดินทางได้ ดังนี้
- รถเมล์ขสมก.
- ทางพิเศษ ทุกเส้นทาง และ ดอนเมือง โทล์ลเวย์ ยกเว้น มอเตอร์เวย์*
- รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน, สายสีม่วง และรถไฟฟ้าสายสีแดง
-
บัตรเพลย์ (เพลย์การ์ด) คืออะไร?
บัตรเพลย์ (Play Card) คือ บัตรที่เชื่อมต่อยอดเงินกับบัญชีเป๋าตังเปย์ของแอปฯ เป๋าตัง สามารถใช้ชำระค่าโดยสารกับระบบขนส่งที่เข้าร่วมรายการ ซื้อของออนไลน์ ใช้จ่ายผ่านเครื่องอ่าน EDC Payment
-
วิธีการชำระสินค้าและบริการผ่านการสแกนจ่าย
การสแกนเพื่อชำระจากเป๋าตังเปย์ สามารถทำได้ดังนี้
- เลือกปุ่มสแกนที่หน้าหลักของแอปฯ เป๋าตังค์
- วาง QR ที่ต้องการชำระให้ตรงกับจุดที่กำหนด
- เลือกบัญชีต้นทางในการจ่ายให้เป็นเป๋าตังเปย์
- ระบุจำนวนเงินที่ต้องการจ่ายบิล (กรณีที่ระบบไม่ได้ดึงข้อมูลจำนวนเงินคงค้างมาให้)
- ตรวจสอบหมายเลขอ้างอิง ชื่อบิล และจำนวนเงินที่จ่ายบิล
- กดยืนยันและใส่ PIN
-
สามารถจ่ายบิลผ่านช่องทางใดในเป๋าตังเปย์ได้บ้าง และวิธีการจ่ายบิลผ่านเป๋าตังเปย์เป็นอย่างไร
-
ลูกค้าสามารถจ่ายบิลได้ 2 ช่องทาง
- จ่ายบิลจากการเลือกบิลที่มีในเป๋าตังเปย์
- สแกนเพื่อจ่ายบิลอื่นๆ ที่ลูกค้าต้องการ
-
การจ่ายบิลผ่านเป๋าตังเปย์ไปยังบัญชีธนาคารอื่นๆ สามารถทำได้ดังนี้
- เลือกเมนู "จ่ายบิล"
- เลือกบิลที่ต้องการจ่ายเงิน
- ใส่หมายเลขอ้างอิงของบิลและระบุจำนวนเงินที่ต้องการจ่ายบิล (กรณีที่ระบบไม่ได้ดึงข้อมูลยอดบิลที่ต้องจ่ายมาให้)
- ตรวจสอบหมายเลขอ้างอิง ชื่อบิล และจำนวนเงินที่จ่ายบิล
- กรอกรหัส PIN พร้อมกดยืนยัน
-
สามารถโอนเงินผ่านเป๋าตังเปย์ได้กี่ช่องทาง
ลูกค้าสามารถใช้บริการเป๋าตังเปย์เพื่อโอนเงินไปยังบัญชีและวอลเล็ตด้วยช่องทาง ดังนี้
- หมายเลขบัญชีธนาคาร
- หมายเลขพร้อมเพย์
- โอนเงินไปยังวอลเล็ต
-
เป๋าตังเปย์สามารถเติมเงินได้กี่ช่องทาง
ปัจจุบันเติมเงินเข้าเป๋าตังเปย์ได้ 4 ช่องทาง ได้แก่
- เติมเงินด้วยบัญชีธนาคารกรุงไทยที่ลูกค้าผูกไว้
- เติมเงินผ่านแอปฯ Krungthai NEXT
- เติมเงินด้วยการใช้ QR รับเงิน ผ่านแอปฯ ธนาคาร
- เติมเงินด้วยบัญชีธนาคารกรุงไทยหรือบัญชีธนาคารอื่นได้ทุกธนาคาร
-
วิธีผูกบัญชีธนาคารกับเป๋าตังเปย์
ลูกค้าสามารถผูกบัญชีธนาคารกรุงไทยเข้ากับเป๋าตังเปย์ได้โดย
- เลือกเมนู "ผูกบัญชี" ที่หน้าใช้งานของเป๋าตังเปย์
- เลือกช่องทางการผูกบัญชีธนาคารกรุงไทย และดำเนินการตามวิธีที่เลือก
- ตรวจสอบรายละเอียดบัญชีธนาคาร เลขบัญชี และชื่อบัญชีของลูกค้า
- ยืนยันการผูกบัญชีธนาคาร
- ระบบจะขึ้นยืนยันการผูกบัญชีกรุงไทยสำเร็จ
-
หากเห็นข้อความบนหน้าบัญชีเป๋าตังเปย์แจ้ง "สมัครใช้บริการไม่สำเร็จ เนื่องจากข้อมูลของท่านไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของผลิตภัณฑ์" จะต้องดำเนินการอย่างไร
หากท่านได้รับข้อความดังกล่าว กรุณาติดต่อที่ศูนย์บริการลูกค้าของธนาคารกรุงไทย หรือติดต่อที่สาขาของธนาคารกรุงไทย ได้ทั่วประเทศ
-
การเปลี่ยนมือถือเครื่องใหม่ และต้องการใช้บัญชีเป๋าตังเปย์เดิมที่เคยลงทะเบียนไว้ ต้องทำอย่างไร
ลูกค้าสามารถทำได้โดย
- โหลดแอปฯ เป๋าตังบนมือถือที่ต้องการใช้งาน
- ยืนยันตัวตนด้วยบัตรประชาชนของลูกค้า และระบุเบอร์มือถือเดิมเพื่อเข้าใช้งาน
- เมื่อเข้าแอปฯ เป๋าตังสำเร็จ ลูกค้าจะสามารถใช้บริการเป๋าตังเปย์ได้
โดยลูกค้าสามารถใช้บริการเป๋าตังเปย์ผ่านมือถือได้ทีละเครื่อง เมื่อมีการเข้าใช้งานด้วยมือถือเครื่องใหม่ บัญชีเป๋าตังเปย์ในมือถือเครื่องเดิมจะถูกลงทะเบียนออกโดยอัตโนมัติ
-
หากต้องการเปลี่ยนรหัส PIN หรือ ลืมรหัส PIN ในการเข้าเป๋าตังเปย์ต้องทำอย่างไร
PIN ที่เข้าใช้งานเป๋าตังเปย์ จะเป็น PIN เดียวกับแอปฯ เป๋าตัง หากต้องการเปลี่ยนรหัส PIN แอปฯ เป๋าตัง สามารถทำได้โดย
- เลือกเมนู "โปรไฟล์" ด้านล่าง
- เลือก "เปลี่ยน PIN"
- ใส่ PIN เดิมของลูกค้าเพื่อยืนยันตัวตนในการตั้งรหัสใช้งาน PIN ใหม่
และหากลืมรหัส PIN โปรดดำเนินการดังนี้
- เลือกเมนูด้านล่างที่ "โปรไฟล์"
- เลือก "เปลี่ยน PIN"
- เลือกเมนูทางด้านล่างซ้าย "ลืม PIN"
- เลือกช่องทางในการยืนยันตัวตนเพื่อทำการขอ PIN เดิมของลูกค้าหรือเปลี่ยนรหัส PIN ใหม่
-
วิธีลงทะเบียนและยืนยันตัวตนบนเป๋าตังเปย์ และข้อแนะนำการยืนยันตัวตนโดยการสแกนหน้าและการใช้บัตรประชาชน
การสมัครเป๋าตังเปย์ ลูกค้าสามารถกดสมัครได้ที่การ์ดเป๋าตังเปย์ หรือแถบเมนูเป๋าตังเปย์ด้านล่างในแอปฯเป๋าตัง โดยลูกค้าสามารถสมัครบัญชีเป๋าตังเปย์ได้ 1 บัญชี โดยขั้นตอนการสมัคร ระบบจะตรวจสอบว่า ลูกค้าได้มีการยืนยันตัวตนกับธนาคารแล้วหรือไม่ หากยังไม่ได้มีการยืนยันตัวตน ลูกค้าสามารถนำบัตรประชาชนไปทำการยืนยันตัวตนได้ที่ตู้ ATM (สีเทา) ของธนาคารกรุงไทย หรือที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา โดยวิธีการสแกนบัตรประชาชน และวิธีการสแกนใบหน้า (สแกนที่สาขา หรือผ่านแอป ได้เลย)ดังนี้
-
ข้อแนะนำการสแกนบัตรประชาชน
- วางบัตรและรูปหน้าให้อยู่ในกรอบที่กำหนด
- วางบัตรให้เห็นตัวเลข ตัวอักษร และรูปหน้าอย่างชัดเจน โดยภาพต้องไม่เบลอ
- อยู่ในบริเวณที่มีแสงสว่างเพียงพอ และไม่มีแสงสะท้อนจากบัตรประชาชนมารบกวน
- ไม่เอานิ้วมือมาบังบัตรประชาชน
-
ข้อแนะนำการสแกนใบหน้า
- ไม่ใส่หมวก แว่นตา และถอดแมสก์ออก ไม่ให้มีสิ่งใดมาปิดบังใบหน้า
- หน้ามองตรง วางใบหน้าให้อยู่ในกรอบที่กำหนด
- อยู่ในบริเวณที่มีแสงสว่างเพียงพอ
- ใบหน้าต้องชัดเจน ตรงกับรูปถ่ายบัตรประชาชน
-
เป๋าตังเปย์คืออะไร
เป๋าตังค์เปย์เป็นบริการ E-Wallet ใหม่บนแอปฯ เป๋าตัง ที่สามารถใช้จ่ายได้ในชีวิตประจำวัน
- สามารถผูกบัญชีกรุงไทยเพื่อเติมเงินเข้าวอลเล็ต
- ใช้จ่ายผ่าน QR, ผูกบัตรเพลย์, โอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร, โอนเงินพร้อมเพย์, จ่ายบิลค่าน้ำค่าไฟ, เติมเงิน สามารถเก็บคูปองส่วนลด และร่วมรับสิทธิพิเศษมากมาย
- เป็น E-wallet ที่ได้รับมาตรฐานความปลอดภัยที่เชื่อถือได้
-
ข้อกำหนดและเงื่อนไขของบริการ WealthFolio เป็นอย่างไร
คุณสามารถอ่าน ข้อกำหนดและเงื่อนไขเพิ่มเติมผ่านหัวข้อ "ข้อกำหนดและเงื่อนไข" หรือ ผ่านบริการ WealthFolio เข้าเมนู "บริการอื่นๆ" และเลือก "ข้อกำหนดและเงื่อนไข"
-
สามารถขอเอกสารยื่นประกอบการขอวีซ่าได้อย่างไร
เปิดใช้งาน WealthFolio เข้าเมนู "บริการอื่นๆ" และเลือก "เอกสารประกอบการยื่นวีซ่า" คุณสามารถขอเอกสารประกอบการขอวีซ่าให้กับตนเองหรือบุคคลอื่นที่คุณประสงค์จะให้การสนับสนุนทางการเงินสำหรับการขอวีซ่า เช่น ผู้ปกครอง พี่น้อง ญาติ หรือบุตร และสามารถเลือกสกุลเงินที่ต้องการแสดงในเอกสารประกอบการขอวีซ่าได้ ทั้งนี้คุณสามารถขอเอกสารได้ภายใน 2 วันทำการ หลังจากที่สมัครใช้บริการ WealthFolio
-
ต้องการขอเอกสาร eStatement ทำอย่างไร
เปิดใช้งาน WealthFolio เข้าเมนู "บริการอื่นๆ" และเลือก "รายงานสรุปข้อมูลทางการเงิน"
- คุณสามารถขอรายงานสรุปทางการเงินย้อนหลังได้สูงสุด 6 เดือน
- รายงานสรุปข้อมูลทางการเงินประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วน ได้แก่ สรุปมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมด และสรุปผลตอบแทนที่ได้รับแล้ว (Realized Return)
- ทั้งนี้คุณสามารถขอเอกสารนี้หลังจากที่สมัครใช้บริการ WealthFolio ได้ภายใน 2 วันทำการ
-
เมนู เงินต้นครบกำหนด คืออะไร
- เงินต้นครบกำหนด แสดงประมาณการเวลาและเงินต้นที่คุณจะได้รับคืนในอนาคต จนถึงวันครบกำหนดไถ่ถอน หรือครบกำหนดอายุ ซึ่งประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้ เงินฝากประจำ กองทุนรวมประเภทที่มีกำหนดอายุ (Term Fund) หุ้นกู้ พันธบัตร และหุ้นกู้อนุพันธ์แฝงที่มีกำหนดเวลาชำระคืนเงินต้นแน่นอน หรือสามารถประมาณการตามที่ผู้ออกหลักทรัพย์ใช้สิทธิ์ไถ่ถอนคืนก่อนกำหนดหรือตามที่คุณไถ่ถอนคืนก่อนกำหนด โดยไม่รวมดอกเบี้ยรับและเงินปันผล
- เงินต้นครบกำหนดนี้ ไม่รวมหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน (Perpetual Bond)
-
เมนู ผลตอบแทน Realized Return คืออะไร
- มูลค่าผลตอบแทน Realized Return แสดงผลตอบแทนจากการลงทุนของคุณที่ได้รับแล้ว ได้แก่ ดอกเบี้ยรับ เงินปันผล และกำไร/ขาดทุนจากการขาย รวมถึงดอกเบี้ยรับจากหุ้นกู้อนุพันธ์แฝง ซึ่งไม่รวมผลตอบแทนที่ได้รับจากประกันชีวิต โดยการแสดงผลตอบแทนของแต่ละสินทรัพย์มีรายละเอียด ดังนี้
-
เงินฝาก จะแสดงดอกเบี้ยที่ได้รับแล้วเป็นผลตอบแทนหลังหักภาษี และดอกเบี้ยรับที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศจะแสดงเป็นมูลค่าเทียบเท่าเงินบาทโดยประมาณตามอัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารกำหนดดอกเบี้ยรับจากเงินฝากทุกประเภทไม่รวมผลตอบแทนปีก่อนหน้า ทั้งนี้ ดอกเบี้ยจากบัญชีออมทรัพย์เริ่มแสดงตั้งแต่ต้นปีปัจจุบัน ส่วนดอกเบี้ยจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน และเงินฝากประจำ รวมถึงบัญชีเงินฝากปลอดภาษี แสดงข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่เดือนกรกฎาคมของปีปัจจุบัน เป็นต้นไป
-
กองทุนรวมจะแสดงผลตอบแทนจากกองทุนรวมหลังหักภาษี ประกอบด้วยกำไร/ขาดทุนจากการขาย และเงินปันผล (ถ้ามี) แสดงข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ของปีก่อนหน้า ทั้งนี้ ข้อมูลที่แสดงจะเป็นผลตอบแทนที่คุณได้รับจริงในช่วงปีนั้นๆ
-
หุ้นและอนุพันธ์จะแสดงผลตอบแทนจากหุ้นและอนุพันธ์หลังหักภาษี ประกอบด้วยกำไร/ขาดทุนจากการขาย แสดงข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ของปีก่อนหน้า ทั้งนี้ ข้อมูลที่แสดงจะเป็นผลตอบแทนที่คุณได้รับจริงในช่วงปีนั้นๆ โดยไม่รวมผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นต่างประเทศ และผลตอบแทนจากบัญชีที่ปิดก่อนที่คุณสมัครใช้บริการ WealthFolio
-
หุ้นกู้จะแสดงดอกเบี้ยรับจากหุ้นกู้หลังหักภาษี จะไม่รวมดอกเบี้ยรับจากหุ้นกู้ที่ธนาคารกรุงไทยไม่ได้เป็นนายทะเบียน แสดงข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ของปีก่อนหน้า ทั้งนี้ ข้อมูลที่แสดงจะเป็นผลตอบแทนที่คุณได้รับจริงในช่วงปีนั้นๆ
-
พันธบัตรจะแสดงดอกเบี้ยรับหลังหักภาษีที่แสดงเป็นดอกเบี้ยจากพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นวอลเล็ต สบม. และพันธบัตรออมทรัพย์ (ตลาดแรก) ที่คุณซื้อผ่านธนาคารกรุงไทย ซึ่งจะไม่รวมดอกเบี้ยจากพันธบัตรประเภทอื่นๆ เช่น พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรที่ซื้อในตลาดรองกับธนาคารกรุงไทย เป็นต้น แสดงข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ของปีก่อนหน้า ทั้งนี้ ข้อมูลที่แสดงจะเป็นผลตอบแทนที่คุณได้รับจริงในช่วงปีนั้นๆ
-
ทองคำจะแสดงกำไร/ขาดทุนจากการขาย แสดงข้อมูลตั้งแต่วันที่ WealthFolio เริ่มให้บริการ
-
หุ้นกู้อนุพันธ์แฝงจะแสดงดอกเบี้ยรับหลังหักภาษีที่แสดง จะไม่รวมผลตอบแทนจากสินทรัพย์อ้างอิง แสดงข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ของปีก่อนหน้า ทั้งนี้ ข้อมูลที่แสดงจะเป็นผลตอบแทนที่คุณได้รับจริงในช่วงปีนั้นๆ
-
-
การคำนวนมูลค่าของสกุลต่างประเทศ เป็นอย่างไร
กรณีที่ยอดเงิน, เงินลงทุน, หรือผลตอบแทน เป็นสกุลเงินต่างประเทศ และมีการแสดงมูลค่าเทียบเท่าเงินบาทโดยประมาณ จะคำนวณโดยอ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยน (exchange rate) ที่ธนาคารกำหนด
-
Advanced mode คืออะไร
การเปิด Advanced mode จะแสดงข้อมูลเพิ่มเติมของพันธบัตร/หุ้นกู้ โดย
-
ราคาตลาดต่อหน่วย
- แสดงเพื่อเป็นราคาอ้างอิงเบื้องต้นสำหรับการซื้อขาย โดยอ้างอิงราคาจาก ThaiBMA
- ราคาที่คุณสามารถขายได้จริงขึ้นอยู่กับราคารับซื้อของธนาคาร -
Unrealized P/L
- แสดง Unrealized P/L ของพันธบัตร/หุ้นกู้ ซึ่งคำนวณโดยการเทียบราคาตลาดต่อหน่วยจาก ThaiBMA กับราคาพาร์ต่อหน่วย
- หากต้นทุนของคุณมีมูลค่าไม่เท่ากับราคาพาร์ อาจทำให้การคำนวณ Unrealized P/L ได้มูลค่าแตกต่างออกไป
***ราคาที่แสดงไม่ใช่ราคาที่คุณซื้อ-ขายได้จริง ราคาซื้อ-ขายขึ้นอยู่กับผู้รับซื้อ-ขายพันธบัตร/หุ้นกู้นั้นๆ
-
ราคาตลาดต่อหน่วย
-
ใน tab จัดกลุ่มเอง, สกุลเงิน, Asset class คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
คุณสามารถเลือกปรับเปลี่ยนการดูพอร์ตได้บนหน้าหลักของ WealthFolio ได้ ดังนี้
- การเลือกดูแบบ "จัดกลุ่มเอง" คุณสามารถที่จะกำหนดและจัดกลุ่มสินทรัพย์ได้สูงสุด 5 กลุ่ม เพื่อให้ดูภาพรวมของสินทรัพย์ได้ง่ายขึ้น โดยการตั้งชื่อกลุ่มสินทรัพย์ เลือกสินทรัพย์ที่ต้องการใส่ในกลุ่ม และสร้างกลุ่มสินทรัพย์ได้ตามที่ต้องการ
- การเลือกดูแบบ "สกุลเงิน" จะแสดงสินทรัพย์แบ่งตามสกุลเงินที่ลงทุน
- การเลือกดูแบบ "Asset Class" คุณสามารถดูภาพรวมของพอร์ต โดยการจัดกลุ่มสินทรัพย์ตามหลักการของธนาคาร โดยปัจจัยสภาพคล่อง ความเสี่ยง ผลตอบแทน และอื่นๆ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ - ตลาดเงิน - ตราสารหนี้ - ตราสารทุน - สินทรัพย์ผสม - สินทรัพย์ทางเลือก
-
อยากใช้ WealthFolio ทำอย่างไร?
คุณสามารถเข้าใช้งาน "WealthFolio" ผ่าน 2 ช่องทางคือ
1. ผ่านแอปฯ Krungthai NEXT
โดย เลือก เมนูบริการ > ภายใต้บริการ NEXT Invest ให้คุณกดเมนู "WealthFolio" เพื่อใช้บริการ
2. ผ่านแอปฯ เป๋าตัง
โดย เลือก เมนูบริการ > ภายใต้บริการ เป๋าลงทุน ให้คุณกดเมนู "WealthFolio" เพื่อใช้บริการ
-
WealthFolio มีประโยชน์อย่างไร
คุณจะได้เห็นภาพรวมการออมและลงทุนของคุณทั้งหมดในที่เดียว เพื่อให้คุณวางแผนทางการเงินได้ดียิ่งขึ้น โดยมีเมนูต่างๆ ดังต่อไปนี้
- หน้าหลัก "WeatlhFolio" แสดงภาพรวมสินทรัพย์ ประกอบด้วย เงินฝากและวอลเล็ต ประกันชีวิต กองทุนรวม หุ้นและอนุพันธ์ หุ้นกู้ พันธบัตร ทองคำ และหุ้นกู้อนุพันธ์แฝง อยู่ในที่เดียว
- เมนู "ผลตอบแทน Realized Return" สามารถดูผลตอบแทนที่ได้รับแล้ว ซึ่งประกอบไปด้วย ดอกเบี้ยรับ เงินปันผล กำไร/ขาดทุนจากการขาย และดอกเบี้ยรับจากหุ้นกู้อนุพันธ์แฝง (ถ้ามี)
- เมนู "เงินต้นครบกำหนด" สามารถดูข้อมูลรายการเงินต้นครบกำหนดได้จนถึงวันครบกำหนดอายุ เช่น เงินต้นครบกำหนดของเงินฝากประจำ หุ้นกู้ พันธบัตร และหุ้นกู้อนุพันธ์แฝง เป็นต้น
- เมนู "บริการอื่นๆ" สามารถขอรายงานสรุปข้อมูลทางการเงินและเอกสารยื่นประกอบการขอวีซ่า
-
WealthFolio คืออะไร?
บริการใหม่ "WealthFolio" ที่รวมทุกมูลค่าสินทรัพย์ของการออมและลงทุน โดยแสดงข้อมูลของสินทรัพย์ที่คุณมีกับ ธนาคารกรุงไทย และบริษัทในเครือ ดังต่อไปนี้
1. เงินฝากและวอลเล็ต
2. ประกันชีวิต
3. กองทุนรวม
4. หุ้นและอนุพันธ์
5. หุ้นกู้
6. พันธบัตร
7. ทองคำ
8. หุ้นกู้อนุพันธ์แฝง
-
สามารถเปิดบัญชีประเภทไหนได้บ้าง
สามารถเปิดบัญชีออมทรัพย์ และ กระแสรายวัน
สกุลไทยบาท และ สกุลต่างประเทศ ได้พร้อมกัน 3 บัญชี
-
สามารถสมัครบริการอะไรได้บ้าง
สามารถสมัครบริการ Krungthai BUSINESS Package และ บริการพร้อมเพย์นิติบุคคล
-
ใครสามารถเข้าทำรายการได้บ้าง
บริษัทสามารถกำหนดเจ้าหน้าที่ (Admin) เพื่อเป็นผู้เข้าทำรายการ หรือ กรรมการสามารถเข้าทำรายการด้วยตนเองได้
-
หากไม่เคยมีบัญชีกับธนาคาร สามารถเปิดผ่านช่องทาง online ได้หรือไม่
สามารถเปิดได้ทั้งลูกค้าที่เคยมีบัญชี และ ไม่เคยมีบัญชีกับธนาคารมาก่อน
ในกรณีที่ไม่เคยมีบัญชีกับธนาคาร ระบบจะแจ้งให้สมัครบริการ Krungthai BUSINESS Package เพื่อใช้เป็นช่องทางการทำธุรกรรม online
-
หากเคยมีบัญชีอยู่แล้ว สามารถสมัครบริการ Krungthai BUSINESS Package เพิ่มได้หรือไม่
สามารถสมัครเพิ่มได้ โดยสามารถให้ข้อมูลการสมัครใช้บริการ รวมถึงกำหนดผู้ใช้งานผ่าน ช่องทาง Krungthai BUSINESS Onboarding ได้เลย เมื่อระบบดำเนินการสมัครแล้วเสร็จ สามารถเริ่มใช้งานได้ทันที
-
ต้องทำรายการให้เสร็จภายในกี่วัน
ผู้เข้าทำรายการสามารถกรอกข้อมูล พร้อมแนบเอกสารให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน หลังจากนั้น จะต้องสร้างรายการใหม่
-
ต้อง Register ก่อนเข้าทำรายการอย่างไร
สามารถเข้า Website เพื่อเข้าทำรายการได้เลย ธนาคารจะส่งอีเมล์ แจ้ง User ID และ ส่งข้อความแจ้ง Secret code เพื่อใช้ในการเข้าทำรายการในครั้งต่อๆ ไป
-
ต้องแนบเอกสารเลยทันทีหรือไม่
ผู้ทำรายการสามารถกรอกข้อมูลให้เรียบร้อย และ แนบเอกสารที่เตรียมไว้ในตอนท้าย
-
ใครต้องทำการพิสูจน์ยืนยันตัวตนบ้าง
แอดมินผู้ทำรายการ, กรรมการผู้ลงนาม, ผู้สั่งจ่าย สามารถยืนยันตัวตนได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” โดยจะต้องเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น
-
ใช้เวลาเท่าไหร่ในการเปิดบัญชี หรือ สมัครบริการ
หลังจากที่กรรมการผู้ลงนาม ยืนยันสมัครใช้บริการ และ ส่งงานมายังธนาคาร เจ้าหน้าที่ธนาคารจะทำการตรวจสอบข้อมูล และหากข้อมูลครบถ้วนถูกต้อง ระบบจะดำเนินการเปิดบริการต่างๆ ให้แล้วเสร็จ ภายใน 2 วันทำการ
-
สามารถแก้ไขข้อมูลที่ Admin ส่งให้กรรมการตรวจสอบได้หรือไม่
กรณีมีการแก้ไข กรรมการสามารถส่งรายการกลับไปยัง Admin เพื่อทำการสร้างข้อมูลใหม่อีกครั้ง เพื่อส่งให้กรรมการผู้ลงนาม และผู้สั่งจ่ายทำการพิสูจน์ ยืนยันตัวตนใหม่
-
บริษัทจะรู้ได้อย่างไรว่าเปิดบัญชี และ/หรือ สมัครบริการสำเร็จ
ธนาคารส่งอีเมลแจ้งไปยัง Admin และกรรมการให้รับทราบ เมื่อทำการเปิดบัญชี และ/หรือ สมัครบริการสำเร็จ
-
การแนบรูปบัตรประชาชน ต้องเขียนข้อความอย่างไร
ไม่ต้องเขียนข้อความใดๆ ขอให้ทำการขีดฆ่า ปิดทับข้อมูล Sensitive Data ได้แก่ ศาสนา และเชื้อชาติ
-
กรณีเงื่อนไขการลงนามกำหนดให้ลงนามพร้อมตราประทับ และต้องแนบแบบ บอจ.3 รายการจดทะเบียนจัดตั้ง มีกำหนดอายุเอกสารหรือไม่
กำหนดอายุเอกสารไม่เกิน 6 เดือน โดยแนบหน้า 1 ที่ระบุวันที่ออกเอกสาร และ หน้า 2 ที่มีรูปตัวอย่างตราประทับ
-
สามารถให้ตัวอย่างตราประทับ ลงบนกระดาษ A4 ได้หรือไม่
ต้องแสตมป์ลงบนแบบฟอร์มของธนาคารเท่านั้น
-
จะกำหนดบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างไร
การเลือก ผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล
เลือกรายชื่อกรรมการตามเงื่อนไขการลงนามผูกพันนิติบุคคล- หากเงื่อนไขฯ ระบุเพียงจำนวน เช่น คนใดคนหนึ่งเป็นผู้ลงนาม >> เลือกกรรมการทุกท่าน
- หากเงื่อนไขฯ ระบุชื่อบุคคลแบบเจาะจง เช่น นายกรุงไทย >> เลือกรายชื่อที่กำหนด เท่านั้น
การเลือก กรรมการผู้ลงนาม
เลือกรายชื่อกรรมการให้ตรงตามเงื่อนไขฯสำหรับการลงนามเพื่อทำรายการในครั้งนี้ เช่น รายชื่อกรรมการตามหนังสือรับรอง มีรายดังนี้- นายกรุงไทย
- นายเป๋าตัง
- นายมีตัง
กรณีที่ 1
เงื่อนไขการลงนาม กำหนดให้ คนใดคนหนึ่งเป็นผู้ลงนาม>>> เลือกรายชื่อกรรมการเพียง 1 ท่าน เช่น เลือกชื่อ นายกรุงไทยกรณีที่ 2
เงื่อนไขการลงนาม กำหนดให้ นายกรุงไทย และ นายเป๋าตัง ลงนามร่วมกัน >>> เลือกรายชื่อบุคคลที่กำหนด >>> เลือกชื่อ นายกรุงไทย และ นายเป๋าตัง
การเลือก ผู้สั่งจ่าย
สามารถเลือกรายชื่อผู้สั่งจ่าย หรือ เพิ่มรายชื่อใหม่ จากปุ่มบนหน้าจอ
-
จะกรอกแบบรับรองตนเองตามเกณฑ์ CRS อย่างไร
กรณีลูกค้าเป็นนิติบุคคลที่ ไม่ใช่ สถาบันการเงินภายใต้ข้อกำหนดของ CRS สามารถเลือกตอบ ไม่ใช่ และ เลือกตอบรายละเอียดด้านล่างตามประเภทนิติบุคคล