คำถามที่พบบ่อย
-
การชำระค่าปรับจะต้องแสดงเอกสารอะไรบ้าง?
แสดงใบสั่งหรือสำเนาใบสั่งที่มีบาร์โค้ดระบุไว้พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทาง หากเป็นชาวต่างชาติ สาขาธนาคารกรุงไทย กรณีจ่ายผ่าน ATM และ Krungthai NEXT ให้ระบุหมายเลขใบสั่ง 13 หลัก
-
ชำระค่าปรับแล้ว แต่สลิปไม่ออก ลูกค้าต้องทำอย่างไร?
สามารถพิมพ์ Statement เพื่อเป็นหลักฐานแทนได้
-
กรณีชื่อ-นามสกุล ของผู้ยื่นชำระค่าปรับที่สาขา ไม่ตรงกับที่แสดงในใบสั่ง สามารถชำระได้หรือไม่?
ได้ โดยกรอกเลขที่บัตรประจำตัวประชาชน 13 หลักแทน ลงในช่อง Ref 2
-
สามารถแบ่งชำระหรือลดค่าปรับได้หรือไม่?
ไม่ได้ ต้องชำระค่าปรับเต็มจำนวนตามที่ระบบแจ้งมา
-
ปัจจุบันการขอข้อมูลเครดิตบูโรผ่านธนาคารกรุงไทยสามารถขอที่ไหนได้บ้าง
- Krungthai NEXT
- ตู้เอทีเอ็มธนาคารกรุงไทย
- สาขาของธนาคารกรุงไทย
-
สามารถให้บุคคลอื่นขอข้อมูลเครดิตบูโรแทนได้หรือไม่
-
การขอข้อมูลเครดิตบูโรในหนึ่งวันสามารถขอได้กี่ครั้ง
-
การขอข้อมูลเครดิตบูโรผ่าน Krungthai NEXT สามารถขอได้ทั้งบุคคลธรรมดา,คณะบุคคลและนิติบุคคลหรือไม่
-
การรับรายงานเครดิตบูโรผ่านทางอีเมลและที่อยู่ที่เลือกไว้ใช้ระยะเวลาเท่าไร
- การรับรายงานผ่านที่อยู่ จะได้รับรายงานเครดิตบูโรไม่เกิน 7 วันทำการ
-
การรับรายงานเครดิตบูโรผ่าน Krungthai NEXT สามารถรับรายงานในช่องทางใดได้บ้าง
การรับรายงานเครดิตบูโร สามารถรับรายงานผ่านทางอีเมล หรือจัดส่งรายงานทางไปรษณีย์ไปยังที่อยู่ที่เลือกไว้
-
บริการเรียกเก็บเงิน PayAlert (เตือนเพื่อจ่าย) คืออะไร
- บริการเรียกเก็บเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ เป็นบริการที่ช่วยให้ร้านค้าและภาคธุรกิจสามารถส่งข้อความแจ้งไปยังผู้ซื้อเพื่อขอให้ชำระเงิน ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่บุคคลทั่วไป ผู้ประกอบธุรกิจ ร้านค้ารายย่อย รวมถึงผู้ประกอบธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ (e-Commerce) ให้มีช่องทางเรียกเก็บเงินและรับชำระเงินได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น ขณะที่ประชาชนจะได้รับความสะดวกในการชำระเงินมากขึ้น โดยมีขั้นตอนการใช้งาน 2 ขั้นตอน ได้แก่
- ขั้นตอนการส่งแจ้งเตือน: ผู้ส่งการแจ้งเตือนสามารถแจ้งข้อความให้ผู้รับการแจ้งเตือนชำระเงินกลับตามยอดเงินและช่องทางที่ระบุ ซึ่งผู้รับการแจ้งเตือนจะเห็นข้อความแจ้งเตือนผ่านช่องทางของธนาคารที่ใช้บริการ เช่น แอปพลิเคชั่นของธนาคาร (Mobile banking) หรืออีเมล
- ขั้นตอนการชำระเงิน: เมื่อผู้รับการแจ้งเตือนได้รับข้อความแจ้งเตือนจะทราบรายละเอียดของการชำระเงิน ทั้งชื่อบัญชีของผู้ส่งการแจ้งเตือน จำนวนเงินที่ต้องชำระ และรหัสอ้างอิง (ถ้ามี) โดยผู้รับการแจ้งเตือนสามารถเลือกยืนยันการชำระเงินหรือไม่ชำระเงินก็ได้
-
ช่องทางการชำระเงิน เมื่อได้รับการแจ้งเตือน
- ผู้ที่ได้รับการแจ้งเตือนสามารถชำระเงินผ่าน Krungthai netbank สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่สาขาธนาคาร
- ในกรณีที่ผู้รับการแจ้งเตือน ชำระเงินผ่านคนละช่องทางกับที่ได้รับการแจ้งเตือน ข้อความแจ้งเตือนจะค้างอยู่ในระบบจนกว่าจะหมดอายุ ผู้รับการแจ้งเตือนควรกดยกเลิกรายการแจ้งเตือนดังกล่าวเพื่อป้องกันการทำรายการซ้ำซ้อน
-
ต้องลงทะเบียนพร้อมเพย์ หรือไม่
ทั้งผู้ส่งการแจ้งเตือน และผู้รับการแจ้งเตือนต้องสมัครใช้บริการเรียกเก็บเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ และผูกบัญชีพร้อมเพย์กับธนาคารที่เปิดให้บริการ
-
ใครสามารถใช้บริการเรียกเก็บเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ได้บ้าง
- บริการเรียกเก็บเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ รองรับการใช้บริการจากประชาชนทั่วไป นิติบุคคล และหน่วยงานภาครัฐ ตามเงื่อนไขการให้บริการของธนาคารโดยผู้ใช้บริการต้องลงทะเบียนพร้อมเพย์ และสมัครใช้บริการเรียกเก็บเงินกับธนาคาร ดังนี้
- ประชาชนทั่วไป สามารถเลือกผูกบัญชีกับหมายเลขโทรศัพท์มือถือ และ/หรือเลขประจำตัวประชาชน
- ร้านค้า นิติบุคคล หรือภาครัฐ สามารถเลือกผูกบัญชีกับเลขประจำตัวผู้เสียภาษี และ/หรือผูก Biller ID (ตามบริการชำระใบแจ้งหนี้ข้ามธนาคาร) ก็ได้
-
บริการเรียกเก็บเงิน PayAlert (เตือนเพื่อจ่าย) คืออะไร
- บริการเรียกเก็บเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ เป็นบริการที่ช่วยให้ร้านค้าและภาคธุรกิจสามารถส่งข้อความแจ้งไปยังผู้ซื้อเพื่อขอให้ชำระเงิน ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่บุคคลทั่วไป ผู้ประกอบธุรกิจ ร้านค้ารายย่อย รวมถึงผู้ประกอบธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ (e-Commerce) ให้มีช่องทางเรียกเก็บเงินและรับชำระเงินได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น ขณะที่ประชาชนจะได้รับความสะดวกในการชำระเงินมากขึ้น โดยมีขั้นตอนการใช้งาน 2 ขั้นตอน ได้แก่
- ขั้นตอนการส่งแจ้งเตือน: ผู้ส่งการแจ้งเตือนสามารถแจ้งข้อความให้ผู้รับการแจ้งเตือนชำระเงินกลับตามยอดเงินและช่องทางที่ระบุ ซึ่งผู้รับการแจ้งเตือนจะเห็นข้อความแจ้งเตือนผ่านช่องทางของธนาคารที่ใช้บริการ เช่น แอปพลิเคชั่นของธนาคาร (Mobile banking) หรืออีเมล
- ขั้นตอนการชำระเงิน: เมื่อผู้รับการแจ้งเตือนได้รับข้อความแจ้งเตือนจะทราบรายละเอียดของการชำระเงิน ทั้งชื่อบัญชีของผู้ส่งการแจ้งเตือน จำนวนเงินที่ต้องชำระ และรหัสอ้างอิง (ถ้ามี) โดยผู้รับการแจ้งเตือนสามารถเลือกยืนยันการชำระเงินหรือไม่ชำระเงินก็ได้
-
ช่องทางการชำระเงิน เมื่อได้รับการแจ้งเตือน
- ผู้ที่ได้รับการแจ้งเตือนสามารถชำระเงินผ่าน Krungthai netbank สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่สาขาธนาคาร
- ในกรณีที่ผู้รับการแจ้งเตือน ชำระเงินผ่านคนละช่องทางกับที่ได้รับการแจ้งเตือน ข้อความแจ้งเตือนจะค้างอยู่ในระบบจนกว่าจะหมดอายุ ผู้รับการแจ้งเตือนควรกดยกเลิกรายการแจ้งเตือนดังกล่าวเพื่อป้องกันการทำรายการซ้ำซ้อน
-
ต้องลงทะเบียนพร้อมเพย์ หรือไม่
ทั้งผู้ส่งการแจ้งเตือน และผู้รับการแจ้งเตือนต้องสมัครใช้บริการเรียกเก็บเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ และผูกบัญชีพร้อมเพย์กับธนาคารที่เปิดให้บริการ
-
ใครสามารถใช้บริการเรียกเก็บเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ได้บ้าง
- บริการเรียกเก็บเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ รองรับการใช้บริการจากประชาชนทั่วไป นิติบุคคล และหน่วยงานภาครัฐ ตามเงื่อนไขการให้บริการของธนาคารโดยผู้ใช้บริการต้องลงทะเบียนพร้อมเพย์ และสมัครใช้บริการเรียกเก็บเงินกับธนาคาร ดังนี้
- ประชาชนทั่วไป สามารถเลือกผูกบัญชีกับหมายเลขโทรศัพท์มือถือ และ/หรือเลขประจำตัวประชาชน
- ร้านค้า นิติบุคคล หรือภาครัฐ สามารถเลือกผูกบัญชีกับเลขประจำตัวผู้เสียภาษี และ/หรือผูก Biller ID (ตามบริการชำระใบแจ้งหนี้ข้ามธนาคาร) ก็ได้
-
หากพบปัญหาในการใช้บริการ สามารถติดต่อได้ที่ใด
งาน Call Center ฝ่ายปฏิบัติการบัตรและร้านค้า งานบริการ KTB-EDC และบริการ Krungthai Fast Pay หรือบริการ Payment Gateway หมายเลขโทรศัพท์ 02-111-9999 กด 3 งานตอบคำถามแก้ไขปัญหาให้ร้านค้า (First Line Support)
-
ขั้นตอนการรับสมัครร้านค้าสมาชิก KTB (EDC)
ร้านค้า (ลูกค้า) สนใจสมัครใช้บริการ ร้านค้ารับบัตร ยื่นความจำนงไปยังสาขาที่ใช้บริการ หรือทุก ๆสาขา ของธนาคารกรุงไทยหรือผ่านตัวแทนของหน่วยงานผู้ดูแลลูกค้า
-
หากมีการ Reject รายการ หรือต้องการยกเลิกรายการลูกค้าต้องทำอย่างไร และใช้เวลากี่วันถึงจะได้รับเงิน
การ Reject รายการแบ่งเป็น 3 กรณี คือ
กรณีที่ 1 : ธนาคารกรุงไทย Reject รายการ เนื่องจากลูกค้าผู้ที่เป็นบุคคลกลุ่มเสี่ยง ธนาคารสามารถปฎิเสธการทำรายการได้ทันที
กรณีที่ 2 : ลูกค้าทำรายการที่ธนาคารกรุงไทยเสร็จแล้ว แต่ระบบส่งคำสั่งมีการตรวจสอบและพบว่าข้อมูลลูกค้าไม่ถูกต้อง ระบบจะทำรายการ Reject เงินเข้าบัญชีทันที
กรณีที่ 3 : ลูกค้าทำรายการที่ธนาคารกรุงไทยเสร็จแล้ว และมีการโอนเงินไปที่ Bene bank แล้ว แต่ปลายทางตรวจสอบพบว่าข้อมูลผิดพลาด ซึ่ง Bene bank จะทำการ reject รายการ ( โดยไม่คืนค่าธรรมเนียม และใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่โอนเงินคืน) ระยะเวลาขึ้นอยู่กับการตรวจสอบและส่งคำส่งในระบบ
-
ลูกค้าสามารถใช้บริการโอนเงินต่างประเทศ ด้วยวัตถุประสงค์ใดได้บ้าง ?
ลูกค้าสามารถทำรายการตามวัตถุประสงค์ต่างๆ ดังนี้
- ค่าขนส่งสินค้า
- ค่าโดยสาร
- ค่าใช้จ่ายเดินทาง – นักท่องเที่ยว
- ค่าใช้จ่ายเดินทาง – นักเรียน นักศึกษา
- ค่าใช้จ่ายเดินทางไปต่างประเทศ - อื่นๆ
- ค่าใช้จ่ายบริการด้านสุขภาพ
- ค่าใช้จ่ายตามบัตรสินเชื่อหรือบัตรเดบิต
- ค่าธรรมเนียมและค่านายหน้าอื่นๆ
- รายได้ส่งกลับบ้านของแรงงาน
- เงินให้เปล่าภาคเอกชน
- ค่าสินค้าเข้าและสินค้าออก
-
ลูกค้าต้องใช้หลักฐานอะไรประกอบการทำรายการบ้าง ?
หลักฐานการแสดงตนตัวจริง และยังไม่หมดอายุ ดังนี้
- คนไทย = บัตรประจำตัวประชาชน / หนังสือเดินทาง
- คนต่างชาติ = หนังสือเดินทาง
-
ระยะเวลานานเท่าไหร่ที่ผู้รับปลายทางจะได้รับเงิน ?
ปลายทางได้รับเงินทันที หรือช้าสุดไม่เกิน 2 วันทำการ (ได้รับเงินเต็มจำนวน) แสดงวันที่รับเงินในใบเสร็จรับเงิน
-
สามารถโอนเงินสกุลใดได้บ้าง ? และสามารถโอนไปประเทศไหนได้บ้าง ?
ลูกค้าสามารถโอนได้ 4 สกุล คือ USD, GBP, HKD, SGD และสามารถโอนเงินไปประเทศปลายทางได้ประเทศตามสกุลเงินของประเทศนั้น ได้แก่
- ประเทศสหรัฐอเมริกา สกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐ(USD)
- ประเทศอังกฤษ สกุลเงินปอนด์สเตอริง(GBP)
- ประเทศฮ่องกง สกุลเงินดอลล่าร์ฮ่องกง(HKD)
- ประเทศสิงคโปร์ สกุลเงินดอลล่าร์สิงคโปร์(SGD)
-
ค่าธรรมเนียมในการทำรายการต่อครั้งเท่าไหร่ ?
ตั้งแต่ 0 - 100,000 บาท ค่าธรรมเนียม 499 บาท ต่อรายการ
ตั้งแต่ 100,001 – 500,000 บาท ค่าธรรมเนียม 799 บาท ต่อรายการ
-
วงเงินในการทำรายการต่อครั้งเท่าไหร่ ?
หักจากบัญชีเงินฝากบาท ไม่เกิน 500,000 บาท ต่อรายการ
-
ลูกค้าสามารถเลือกทำรายการชำระเงินด้วยวิธีใดได้บ้าง ?
ลูกค้าสามารถชำระเงินด้วยวิธีหักจากบัญชีเงินฝากบาท
-
บริการ Cross border fund transfer (บริการ Krungthai WARP) คืออะไร
บริการโอนเงินต่างประเทศด้วยเทคโนโลยีใหม่ ที่ค่าธรรมเนียมถูกกว่า (ปลายทางรับเงินเต็มจำนวน) โอนถึงปลายทางเร็วกว่าระบบ Swift