คำถามที่พบบ่อย
-
หากกดชำระแล้ว ไม่พบใบสั่งในการชำระต้องทำอย่างไร
ให้ผู้ชำระประสานงานติดต่อกลับสถานีตำรวจที่ออกใบสั่ง
-
หากจำนวนค่าปรับในระบบที่ชำระไม่ตรงกับใบสั่ง จะต้องทำอย่างไร
ให้ผู้ชำระประสานงานติดต่อสถานีตำรวจที่ออกใบสั่ง เพื่อแก้ไขค่าปรับให้ถูกต้อง
-
ชำระค่าปรับจราจร แล้ว แต่สลิปไม่ออก ลูกค้าต้องทำอย่างไร?
สามารถพิมพ์ Statement เพื่อเป็นหลักฐานแทนได้
-
กรณีชื่อ-นามสกุล ของผู้ยื่นชำระค่าปรับที่สาขา ไม่ตรงกับที่แสดงในใบสั่ง สามารถชำระค่าปรับจราจร ได้หรือไม่?
ได้ โดยกรอกเลขที่บัตรประจำตัวประชาชน 13 หลักแทน ลงในช่อง Ref 2
-
สามารถแบ่งชำระหรือลดค่าปรับจราจร ได้หรือไม่?
ไม่ได้ ต้องชำระค่าปรับจราจรเต็มจำนวนตามที่ระบบแจ้งมา
-
การชำระค่าปรับจราจรจะต้องแสดงเอกสารอะไรบ้าง?
แสดงใบสั่งหรือสำเนาใบสั่งที่มีบาร์โค้ดระบุไว้พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทาง หากเป็นชาวต่างชาติ สาขาธนาคารกรุงไทย กรณีจ่ายค่าปรับจราจร ผ่าน ATM, แอปฯ Krungthai NEXT และ แอปฯ เป๋าตัง ให้ระบุหมายเลขใบสั่ง 13 หลัก
-
ปัจจุบันการขอข้อมูลเครดิตบูโรผ่านธนาคารกรุงไทยสามารถขอที่ไหนได้บ้าง
- Krungthai NEXT
- ตู้เอทีเอ็มธนาคารกรุงไทย
- สาขาของธนาคารกรุงไทย
-
สามารถให้บุคคลอื่นขอข้อมูลเครดิตบูโรแทนได้หรือไม่
-
การขอข้อมูลเครดิตบูโรในหนึ่งวันสามารถขอได้กี่ครั้ง
-
การขอข้อมูลเครดิตบูโรผ่าน Krungthai NEXT สามารถขอได้ทั้งบุคคลธรรมดา,คณะบุคคลและนิติบุคคลหรือไม่
-
การรับรายงานเครดิตบูโรผ่านทางอีเมลและที่อยู่ที่เลือกไว้ใช้ระยะเวลาเท่าไร
- การรับรายงานผ่านที่อยู่ จะได้รับรายงานเครดิตบูโรไม่เกิน 7 วันทำการ
-
การรับรายงานเครดิตบูโรผ่าน Krungthai NEXT สามารถรับรายงานในช่องทางใดได้บ้าง
การรับรายงานเครดิตบูโร สามารถรับรายงานผ่านทางอีเมล หรือจัดส่งรายงานทางไปรษณีย์ไปยังที่อยู่ที่เลือกไว้
-
ผูกบัญชีพร้อมเพย์ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการลงทะเบียนหรือไม่
สมัครกรุงไทยพร้อมเพย์ง่าย ๆ เพียงผูกบัญชีกับเลขบัตรประชาชน หรือเบอร์โทรศัพท์ โดยไม่มีค่าธรรมเนียมในการลงทะเบียน
-
หนึ่งบัญชีพร้อมเพย์สามารถผูกกับเบอร์มือถือได้สูงสุดกี่เบอร์
หนึ่งบัญชีพร้อมเพย์สามารถผูกกับเบอร์มือถือได้สูงสุด 3 เบอร์ ต่อ 1 บัญชี
-
หากมีคนรู้เลขบัตรประชาชนหรือเบอร์มือถือของเรา จะสามารถโอนเงินออกจากบัญชีเราได้หรือไม่
ไม่ได้ การโอนเงินออกจากบัญชี จะต้องใช้ข้อมูลอื่น ๆ ประกอบ เช่น หากต้องการโอนเงินผ่านตู้ ATM จะต้องมีบัตรเดบิตหรือบัตรเอทีเอ็ม และรหัสเพื่อเข้าดำเนินรายการผ่านตู้เอทีเอ็ม หรือหากต้องการโอนเงินออกจาก Mobile Banking หรือ Internet Banking ก็จะต้องมีข้อมูล Username และ Password จึงจะสามารถเข้าทำรายการได้
-
บริการพร้อมเพย์มีการกำหนดจำนวนครั้งในการโอน วงเงิน และจำนวนเงินสูงสุดในการโอนต่อรายการและต่อวันเท่าไร
ไม่มีการกำหนดจำนวนครั้งในการโอนเงินต่อวัน สำหรับวงเงินสูงสุดและจำนวนเงินสูงสุดในการโอนเงินต่อรายการและต่อวัน ขึ้นกับแต่ละธนาคารเป็นผู้กำหนด
-
หากมีการเปลี่ยนแปลง/ยกเลิกเบอร์โทรศัพท์มือถือที่เคยใช้ลงทะเบียนบริการพร้อมเพย์ไว้ ต้องทำอย่างไร
ในกรณีผูกเบอร์โทรศัพท์ไว้กับบัญชีพร้อมเพย์ หากเปลี่ยนเบอร์ ควรแจ้งยกเลิกการลงทะเบียนพร้อมเพย์ และลงทะเบียนด้วยเบอร์ใหม่กับธนาคารที่ต้องการใช้บริการ ผ่านช่องทางที่สะดวก
-
ผูกบัญชีพร้อมเพย์ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการลงทะเบียนหรือไม่
สมัครกรุงไทยพร้อมเพย์ง่าย ๆ เพียงผูกบัญชีกับเลขบัตรประชาชน หรือเบอร์โทรศัพท์ โดยไม่มีค่าธรรมเนียมในการลงทะเบียน
-
หนึ่งบัญชีพร้อมเพย์สามารถผูกกับเบอร์มือถือได้สูงสุดกี่เบอร์
หนึ่งบัญชีพร้อมเพย์สามารถผูกกับเบอร์มือถือได้สูงสุด 3 เบอร์ ต่อ 1 บัญชี
-
หากมีคนรู้เลขบัตรประชาชนหรือเบอร์มือถือของเรา จะสามารถโอนเงินออกจากบัญชีเราได้หรือไม่
ไม่ได้ การโอนเงินออกจากบัญชี จะต้องใช้ข้อมูลอื่น ๆ ประกอบ เช่น หากต้องการโอนเงินผ่านตู้ ATM จะต้องมีบัตรเดบิตหรือบัตรเอทีเอ็ม และรหัสเพื่อเข้าดำเนินรายการผ่านตู้เอทีเอ็ม หรือหากต้องการโอนเงินออกจาก Mobile Banking หรือ Internet Banking ก็จะต้องมีข้อมูล Username และ Password จึงจะสามารถเข้าทำรายการได้
-
บริการพร้อมเพย์มีการกำหนดจำนวนครั้งในการโอน วงเงิน และจำนวนเงินสูงสุดในการโอนต่อรายการและต่อวันเท่าไร
ไม่มีการกำหนดจำนวนครั้งในการโอนเงินต่อวัน สำหรับวงเงินสูงสุดและจำนวนเงินสูงสุดในการโอนเงินต่อรายการและต่อวัน ขึ้นกับแต่ละธนาคารเป็นผู้กำหนด
-
หากมีการเปลี่ยนแปลง/ยกเลิกเบอร์โทรศัพท์มือถือที่เคยใช้ลงทะเบียนบริการพร้อมเพย์ไว้ ต้องทำอย่างไร
ในกรณีผูกเบอร์โทรศัพท์ไว้กับบัญชีพร้อมเพย์ หากเปลี่ยนเบอร์ ควรแจ้งยกเลิกการลงทะเบียนพร้อมเพย์ และลงทะเบียนด้วยเบอร์ใหม่กับธนาคารที่ต้องการใช้บริการ ผ่านช่องทางที่สะดวก
-
ช่องทางการชำระเงิน เมื่อได้รับการแจ้งเตือน
- ผู้ที่ได้รับการแจ้งเตือนสามารถชำระเงินผ่าน Krungthai netbank สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่สาขาธนาคาร
- ในกรณีที่ผู้รับการแจ้งเตือน ชำระเงินผ่านคนละช่องทางกับที่ได้รับการแจ้งเตือน ข้อความแจ้งเตือนจะค้างอยู่ในระบบจนกว่าจะหมดอายุ ผู้รับการแจ้งเตือนควรกดยกเลิกรายการแจ้งเตือนดังกล่าวเพื่อป้องกันการทำรายการซ้ำซ้อน
-
ต้องลงทะเบียนพร้อมเพย์ หรือไม่
ทั้งผู้ส่งการแจ้งเตือน และผู้รับการแจ้งเตือนต้องสมัครใช้บริการเรียกเก็บเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ และผูกบัญชีพร้อมเพย์กับธนาคารที่เปิดให้บริการ
-
ใครสามารถใช้บริการเรียกเก็บเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ได้บ้าง
- บริการเรียกเก็บเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ รองรับการใช้บริการจากประชาชนทั่วไป นิติบุคคล และหน่วยงานภาครัฐ ตามเงื่อนไขการให้บริการของธนาคารโดยผู้ใช้บริการต้องลงทะเบียนพร้อมเพย์ และสมัครใช้บริการเรียกเก็บเงินกับธนาคาร ดังนี้
- ประชาชนทั่วไป สามารถเลือกผูกบัญชีกับหมายเลขโทรศัพท์มือถือ และ/หรือเลขประจำตัวประชาชน
- ร้านค้า นิติบุคคล หรือภาครัฐ สามารถเลือกผูกบัญชีกับเลขประจำตัวผู้เสียภาษี และ/หรือผูก Biller ID (ตามบริการชำระใบแจ้งหนี้ข้ามธนาคาร) ก็ได้
-
บริการเรียกเก็บเงิน PayAlert (เตือนเพื่อจ่าย) คืออะไร
- บริการเรียกเก็บเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ เป็นบริการที่ช่วยให้ร้านค้าและภาคธุรกิจสามารถส่งข้อความแจ้งไปยังผู้ซื้อเพื่อขอให้ชำระเงิน ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่บุคคลทั่วไป ผู้ประกอบธุรกิจ ร้านค้ารายย่อย รวมถึงผู้ประกอบธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ (e-Commerce) ให้มีช่องทางเรียกเก็บเงินและรับชำระเงินได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น ขณะที่ประชาชนจะได้รับความสะดวกในการชำระเงินมากขึ้น โดยมีขั้นตอนการใช้งาน 2 ขั้นตอน ได้แก่
- ขั้นตอนการส่งแจ้งเตือน: ผู้ส่งการแจ้งเตือนสามารถแจ้งข้อความให้ผู้รับการแจ้งเตือนชำระเงินกลับตามยอดเงินและช่องทางที่ระบุ ซึ่งผู้รับการแจ้งเตือนจะเห็นข้อความแจ้งเตือนผ่านช่องทางของธนาคารที่ใช้บริการ เช่น แอปพลิเคชั่นของธนาคาร (Mobile banking) หรืออีเมล
- ขั้นตอนการชำระเงิน: เมื่อผู้รับการแจ้งเตือนได้รับข้อความแจ้งเตือนจะทราบรายละเอียดของการชำระเงิน ทั้งชื่อบัญชีของผู้ส่งการแจ้งเตือน จำนวนเงินที่ต้องชำระ และรหัสอ้างอิง (ถ้ามี) โดยผู้รับการแจ้งเตือนสามารถเลือกยืนยันการชำระเงินหรือไม่ชำระเงินก็ได้
-
ช่องทางการชำระเงิน เมื่อได้รับการแจ้งเตือน
- ผู้ที่ได้รับการแจ้งเตือนสามารถชำระเงินผ่าน Krungthai netbank สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่สาขาธนาคาร
- ในกรณีที่ผู้รับการแจ้งเตือน ชำระเงินผ่านคนละช่องทางกับที่ได้รับการแจ้งเตือน ข้อความแจ้งเตือนจะค้างอยู่ในระบบจนกว่าจะหมดอายุ ผู้รับการแจ้งเตือนควรกดยกเลิกรายการแจ้งเตือนดังกล่าวเพื่อป้องกันการทำรายการซ้ำซ้อน
-
ต้องลงทะเบียนพร้อมเพย์ หรือไม่
ทั้งผู้ส่งการแจ้งเตือน และผู้รับการแจ้งเตือนต้องสมัครใช้บริการเรียกเก็บเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ และผูกบัญชีพร้อมเพย์กับธนาคารที่เปิดให้บริการ
-
ใครสามารถใช้บริการเรียกเก็บเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ได้บ้าง
- บริการเรียกเก็บเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ รองรับการใช้บริการจากประชาชนทั่วไป นิติบุคคล และหน่วยงานภาครัฐ ตามเงื่อนไขการให้บริการของธนาคารโดยผู้ใช้บริการต้องลงทะเบียนพร้อมเพย์ และสมัครใช้บริการเรียกเก็บเงินกับธนาคาร ดังนี้
- ประชาชนทั่วไป สามารถเลือกผูกบัญชีกับหมายเลขโทรศัพท์มือถือ และ/หรือเลขประจำตัวประชาชน
- ร้านค้า นิติบุคคล หรือภาครัฐ สามารถเลือกผูกบัญชีกับเลขประจำตัวผู้เสียภาษี และ/หรือผูก Biller ID (ตามบริการชำระใบแจ้งหนี้ข้ามธนาคาร) ก็ได้
-
บริการเรียกเก็บเงิน PayAlert (เตือนเพื่อจ่าย) คืออะไร
- บริการเรียกเก็บเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ เป็นบริการที่ช่วยให้ร้านค้าและภาคธุรกิจสามารถส่งข้อความแจ้งไปยังผู้ซื้อเพื่อขอให้ชำระเงิน ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่บุคคลทั่วไป ผู้ประกอบธุรกิจ ร้านค้ารายย่อย รวมถึงผู้ประกอบธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ (e-Commerce) ให้มีช่องทางเรียกเก็บเงินและรับชำระเงินได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น ขณะที่ประชาชนจะได้รับความสะดวกในการชำระเงินมากขึ้น โดยมีขั้นตอนการใช้งาน 2 ขั้นตอน ได้แก่
- ขั้นตอนการส่งแจ้งเตือน: ผู้ส่งการแจ้งเตือนสามารถแจ้งข้อความให้ผู้รับการแจ้งเตือนชำระเงินกลับตามยอดเงินและช่องทางที่ระบุ ซึ่งผู้รับการแจ้งเตือนจะเห็นข้อความแจ้งเตือนผ่านช่องทางของธนาคารที่ใช้บริการ เช่น แอปพลิเคชั่นของธนาคาร (Mobile banking) หรืออีเมล
- ขั้นตอนการชำระเงิน: เมื่อผู้รับการแจ้งเตือนได้รับข้อความแจ้งเตือนจะทราบรายละเอียดของการชำระเงิน ทั้งชื่อบัญชีของผู้ส่งการแจ้งเตือน จำนวนเงินที่ต้องชำระ และรหัสอ้างอิง (ถ้ามี) โดยผู้รับการแจ้งเตือนสามารถเลือกยืนยันการชำระเงินหรือไม่ชำระเงินก็ได้
-
หากพบปัญหาในการใช้บริการ สามารถติดต่อได้ที่ใด
งาน Call Center ฝ่ายปฏิบัติการบัตรและร้านค้า งานบริการ KTB-EDC และบริการ Krungthai Fast Pay หรือบริการ Payment Gateway หมายเลขโทรศัพท์ 02-111-9999 กด 3 งานตอบคำถามแก้ไขปัญหาให้ร้านค้า (First Line Support)
-
ขั้นตอนการรับสมัครร้านค้าสมาชิก KTB (EDC)
ร้านค้า (ลูกค้า) สนใจสมัครใช้บริการ ร้านค้ารับบัตร ยื่นความจำนงไปยังสาขาที่ใช้บริการ หรือทุก ๆสาขา ของธนาคารกรุงไทยหรือผ่านตัวแทนของหน่วยงานผู้ดูแลลูกค้า
-
หากมีการ Reject รายการ หรือต้องการยกเลิกรายการลูกค้าต้องทำอย่างไร และใช้เวลากี่วันถึงจะได้รับเงิน
การ Reject รายการแบ่งเป็น 3 กรณี คือ
กรณีที่ 1 : ธนาคารกรุงไทย Reject รายการ เนื่องจากลูกค้าผู้ที่เป็นบุคคลกลุ่มเสี่ยง ธนาคารสามารถปฎิเสธการทำรายการได้ทันที
กรณีที่ 2 : ลูกค้าทำรายการที่ธนาคารกรุงไทยเสร็จแล้ว แต่ระบบส่งคำสั่งมีการตรวจสอบและพบว่าข้อมูลลูกค้าไม่ถูกต้อง ระบบจะทำรายการ Reject เงินเข้าบัญชีทันที
กรณีที่ 3 : ลูกค้าทำรายการที่ธนาคารกรุงไทยเสร็จแล้ว และมีการโอนเงินไปที่ Bene bank แล้ว แต่ปลายทางตรวจสอบพบว่าข้อมูลผิดพลาด ซึ่ง Bene bank จะทำการ reject รายการ ( โดยไม่คืนค่าธรรมเนียม และใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่โอนเงินคืน) ระยะเวลาขึ้นอยู่กับการตรวจสอบและส่งคำส่งในระบบ
-
ลูกค้าสามารถใช้บริการโอนเงินต่างประเทศ ด้วยวัตถุประสงค์ใดได้บ้าง ?
ลูกค้าสามารถทำรายการตามวัตถุประสงค์ต่างๆ ดังนี้
- ค่าขนส่งสินค้า
- ค่าโดยสาร
- ค่าใช้จ่ายเดินทาง – นักท่องเที่ยว
- ค่าใช้จ่ายเดินทาง – นักเรียน นักศึกษา
- ค่าใช้จ่ายเดินทางไปต่างประเทศ - อื่นๆ
- ค่าใช้จ่ายบริการด้านสุขภาพ
- ค่าใช้จ่ายตามบัตรสินเชื่อหรือบัตรเดบิต
- ค่าธรรมเนียมและค่านายหน้าอื่นๆ
- รายได้ส่งกลับบ้านของแรงงาน
- เงินให้เปล่าภาคเอกชน
- ค่าสินค้าเข้าและสินค้าออก
-
ระยะเวลานานเท่าไหร่ที่ผู้รับปลายทางจะได้รับเงิน ?
ปลายทางได้รับเงินทันที หรือช้าสุดไม่เกิน 2 วันทำการ (ได้รับเงินเต็มจำนวน) แสดงวันที่รับเงินในใบเสร็จรับเงิน
-
สามารถโอนเงินสกุลใดได้บ้าง ? และสามารถโอนไปประเทศไหนได้บ้าง ?
- โอนผ่านระบบ WARP (ไม่เกิน 500,000 บาทต่อรายการ)
- ลูกค้าสามารถโอนได้ 4 สกุลเงิน 4 ประเทศปลายทาง ได้แก่ USD-อเมริกา, GBP-อังกฤษ, SGD- สิงคโปร์, HKD- ฮ่องกง
โอนผ่านระบบ SWIFT (ไม่เกิน 1,500,000 บาทต่อรายการ)- ลูกค้าสามารถโอนเงินได้ ทั่วโลกกว่า 150 แระเทศทั่วโลก
-
ค่าธรรมเนียมในการทำรายการต่อครั้งเท่าไหร่ ?
โอนด้วยมือถือผ่านระบบ WARP
- ตั้งแต่ 1-100,000 ค่าธรรมเนียม 499 บาทต่อรายการ
- ตั้งแต่ 100,001 – 500,000 ค่าธรรมเนียม 799 ต่อรายการ
โอนผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร
- ตั้งแต่ 1-100,000 ค่าธรรมเนียม 499 บาทต่อรายการ
- ตั้งแต่ 100,001 – 500,000 ค่าธรรมเนียม 799 ต่อรายการ
โอนผ่านระบบ SWIFT
เคาน์เตอร์ธนาคาร
-
ไม่เกิน 1,500,000 บาทต่อรายการ
Charge Ben 400
Charge Our 1,200 – 1,600
โอนผ่านมือถือ
-
ไม่เกิน 1,500,000 บาทต่อรายการ
Charge Ben 300
Charge Our 1,100 – 1,500
-
วงเงินในการทำรายการต่อครั้งเท่าไหร่ ?
-
โอนผ่าน Krungthai NEXT
- Casa/FCD 1,500,000 บาท
- Inter Wallet / Travel Card 600,000 บาท -
โอนผ่านสาขาของธนาคาร
- Casa/FCD 1,500,000 บาท
- Inter Wallet / Travel Card 1,000,000 บาท
(ไม่จำกัดจำนวนครั้งในการโอน)
-
โอนผ่าน Krungthai NEXT
-
ลูกค้าสามารถเลือกทำรายการชำระเงินด้วยวิธีใดได้บ้าง ?
- Inter Wallet
- บัญชีเงินฝากบาท
- บัญชีเงินฝากสกุลต่างประเทศ (FCD)
-
บริการโอนเงินต่างประเทศ Krungthai WARP คืออะไร?
ระบบการโอนเงินต่างประเทศอัจฉริยะรูปแบบใหม่เพื่อคนไทย “ถูก เร็ว เรทดี” ปลายทางรับเงินเต็มจำนวน โอนถึงปลายทางเร็วกว่าระบบ SWIFT
-
Transaction Limit
There is a limit per transaction set for receiving PromptPay International transfers for each country. For Singapore, the limit is set at THB 25,000, but without a daily limit. Service users can receive their transfer for unlimited amounts and free of charge via PromptPay International service.
-
บริการส่งและรับเงินโอนระหว่างประเทศผ่านระบบพร้อมเพย์ (PromptPay International) คืออะไร
บริการส่งและรับเงินโอนระหว่างประเทศผ่านระบบพร้อมเพย์ เป็นบริการที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้ารายย่อยที่ต้องการส่งและรับเงินโอนระหว่างประเทศให้มีช่องทางที่สะดวก รวดเร็ว ค่าบริการไม่แพง และปลอดภัย ผ่านบัญชีธนาคารที่ลงทะเบียนกรุงไทยพร้อมเพย์ด้วยหมายเลขโทรศัพท์มือถือ โดยมีขั้นตอนดังนี้
- การส่งเงินโอนระหว่างประเทศผ่านระบบพร้อมเพย์: ผู้ส่งเงินสามารถทำรายการโอนเงินผ่านแอปพลิเคชัน กรุงไทย เน็กซ์ (Mobile Application) โดยระบุหมายเลขโทรศัพท์มือถือของผู้รับเงินปลายทาง หลังจากที่ผู้ส่งเงินตรวจสอบชื่อผู้รับและยืนยันรายการโอนเงินแล้ว ธนาคารจะส่งคำสั่งการโอนเงินไปยังบัญชีผู้รับที่ธนาคารปลายทางในต่างประเทศ และแจ้งผลการโอนเงินให้ผู้ส่งเงินทราบ
- การรับเงินโอนระหว่างประเทศผ่านระบบพร้อมเพย์: ธนาคารจะส่งการแจ้งเตือนให้ผู้รับเงินทราบหลังจากที่ได้รับคำสั่งการโอนเงินจากต่างประเทศผ่านหมายเลขโทรศัพท์มือถือของผู้รับเงินที่ผูกบัญชีกรุงไทยพร้อมเพย์ โดยผู้รับเงินสามารถตรวจสอบยอดเงินโอนได้จากข้อความแจ้งเตือนหรือจากช่องทางแสดงรายการธุรกรรมผ่านระบบพร้อมเพย์ที่ธนาคารกำหนด
-
สามารถส่งและรับเงินโอนไปยังประเทศใดได้บ้าง
ในปี 2564 นี้สามารถส่งและรับเงินโอนระหว่างประเทศไทยและสิงคโปร์ได้ โดยจะขยายประเทศให้บริการเพิ่มเติมในอนาคต
-
ใครสามารถใช้บริการส่งและรับเงินโอนระหว่างประเทศผ่านระบบพร้อมเพย์ได้บ้าง
บริการส่งและรับเงินโอนระหว่างประเทศผ่านระบบพร้อมเพย์ รองรับการใช้บริการจากประชาชนทั่วไป ตามเงื่อนไขการให้บริการของธนาคาร โดยผู้ส่งเงินโอนระหว่างประเทศต้องใช้แอปพลิเคชัน กรุงไทย เน็กซ์โดยมีข้อจำกัดว่า ผู้โอนเงินที่มีสัญชาติไทยไม่สามารถโอนเงินจากประเทศไทยเข้าบัญชีตนเองในต่างประเทศได้ และผู้รับเงินโอนระหว่างประเทศต้องลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยหมายเลขโทรศัพท์มือถือและผูกบัญชีพร้อมเพย์กับธนาคารที่เปิดให้บริการ
-
ต้องลงทะเบียนพร้อมเพย์ หรือไม่
- ผู้ส่งเงินโอนไปต่างประเทศไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนพร้อมเพย์
- ผู้รับเงินโอนจากต่างประเทศต้องลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยหมายเลขโทรศัพท์มือถือ และผูกบัญชีพร้อมเพย์กับธนาคารที่เปิดให้บริการ
-
ประเทศที่บริการส่งและรับเงินโอนระหว่างประเทศผ่านระบบพร้อมเพย์รองรับ
ในระยะเริ่มต้นนี้ บริการส่งและรับเงินโอนระหว่างประเทศผ่านระบบพร้อมเพย์รองรับการส่งและรับเงินโอนสำหรับประเทศสิงคโปร์ ซึ่งโดยมีแผนที่จะขยายขอบเขตการให้บริการไปยังประเทศอื่น ๆ ต่อไป
-
ธนาคารใดสามารถรับเงินโอนระหว่างประเทศผ่านระบบพร้อมเพย์จากไทยได้บ้าง
ในระยะเริ่มต้น ธนาคารที่สามารถรับเงินโอนระหว่าง ประเทศผ่านระบบพร้อมเพย์จากไทย มีดังต่อไปนี้
ประเทศสิงคโปร์
- ธนาคารดีบีเอส สิงคโปร์
- ธนาคารยูโอบี สิงคโปร์
- ธนาคารโอซีบีซี สิงคโปร์
-
ช่องทางการส่งและรับเงินโอนระหว่างประเทศผ่านระบบพร้อมเพย์
- การส่งเงินโอนระหว่างประเทศ ผู้ใช้บริการส่งเงินโอนระหว่างประเทศ สามารถใช้บริการผ่านแอปพลิเคชัน กรุงไทย เน็กซ์ โดยไม่ต้องลงทะเบียนพร้อมเพย์ก่อน
- การรับเงินโอนระหว่างประเทศ ผู้ใช้บริการรับเงินโอนระหว่างประเทศจะได้รับคำแจ้งเตือนเมื่อมีเงินโอนระหว่างประเทศเข้ามาที่บัญชีกรุงไทยพร้อมเพย์ที่ลงทะเบียนด้วยเลขโทรศัพท์มือถือ โดยผู้รับเงินโอนสามารถตรวจสอบยอดเงินได้จากคำแจ้งเตือน หรือบัญชีที่แสดงบน Mobile Banking ของธนาคารที่ให้บริการ
-
จะเริ่มใช้บริการได้เมื่อไหร่
ระบบจะพร้อมให้บริการส่งและรับเงินโอนระหว่างประเทศผ่านพร้อมเพย์ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2564 โดยธนาคารจะทยอยเริ่มให้บริการ และจะประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าทราบผ่านช่องทางของแต่ละธนาคาร
-
มีค่าธรรมเนียมเท่าไร
ธนาคารกำหนดเพดานค่าธรรมเนียมบริการส่งและรับเงินโอนระหว่างประเทศผ่านพร้อมเพย์ดังนี้
ประเภทรายการ ค่าธรรมเนียม การส่งเงินโอนระหว่างประเทศ - ระหว่างวันที่ 26 เมษายน 2564 - 31 กรกฎาคม 2564
- ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป
75 บาทต่อรายการ
150 บาทต่อรายการการรับเงินโอนระหว่างประเทศ
ฟรี
-
วิธีการใช้งาน
ผู้ส่งเงินโอนระหว่างประเทศผ่านระบบพร้อมเพย์สามารถส่งรายการได้จากแอปพลิเคชัน กรุงไทย เน็กซ์ โดยระบุหมายเลขโทรศัพท์มือถือของผู้รับเงินโอนที่ลงทะเบียนร่วมรายการในต่างประเทศ และระบุจำนวนเงินที่ต้องการโอน จากนั้นทำการตรวจสอบชื่อผู้รับ อัตราค่าธรรมเนียมที่แสดงบน Application ก่อนยืนยันรายการ
-
มีการกำหนดวงเงินและจำนวนเงินสูงสุดในการส่งเงินโอนระหว่างประเทศผ่านระบบพร้อมเพย์หรือไม่
ผู้ส่งเงินโอนระหว่างประเทศผ่านระบบพร้อมเพย์มีการหนดวงเงินสูงสุดตามแต่ที่ตกลงกันในแต่ละประเทศ สำหรับประเทศสิงคโปร์ สามารถส่งเงินโอนได้วันละไม่เกิน 1,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งในการโอน เช่น ผู้ส่งเงินโอนระหว่างประเทศ ส่งเงินรายการแรก 500 ดอลลาร์สิงคโปร์ ในวันนั้นผู้ส่งเงินโอนรายนี้จะส่งเงินโอนระหว่างประเทศได้อีก 500 ดอลลาร์สิงคโปร์เท่านั้น หากผู้ส่งเงินโอนทำการส่งเงินโอนระหว่างประเทศรายการแรกเป็นจำนวน 1,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ ในวันนั้นผู้ส่งเงินโอนรายนี้จะไม่สามารถส่งเงินโอนระหว่างประเทศได้อีก และจะส่งเงินโอนระหว่างประเทศได้อีกครั้งในวันถัดไป
-
สามารถยกเลิกการส่งโอนเงินระหว่างประเทศผ่านระบบพร้อมเพย์ได้หรือไม่
หากยืนยันการส่งเงินโอนระหว่างประเทศผ่านระบบพร้อมเพย์แล้ว ผู้ส่งเงินโอนไม่สามารถยกเลิกรายการโอนเงินระหว่างประเทศนั้นได้
-
หากส่งรายการไม่สำเร็จ จะมีข้อความแจ้งหรือไม่
หากส่งเงินโอนระหว่างประเทศผ่านระบบพร้อมเพย์ไม่สำเร็จ ผู้ส่งเงินโอนจะได้รับข้อความแจ้งจากธนาคารที่ให้บริการ และยอดเงินโอนจะถูกคืนเข้าบัญชีที่โอนเงินออกโดยอัตโนมัติ
-
หากไม่ต้องการรับเงินโอนระหว่างประเทศผ่านระบบพร้อมเพย์ต้องทำอย่างไร
การใช้บริการส่ง-รับเงินโอนระหว่างประเทศของผู้ขอใช้บริการ ผู้ใช้บริการตกลงให้ธนาคารดำเนินการเปิดเผยข้อมูลชื่อบัญชี เลขที่บัญชี และ/หรือข้อมูลอื่นใดของผู้ขอใช้บริการไปยังผู้โอนเงินและผู้ให้บริการโอนเงินในต่างประเทศ เพื่อวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติตามกฎหมายและ/หรือกฎเกณฑ์ใด ๆ ที่มีผลบังคับใช้กับผู้ให้บริการโอนเงินและเพื่อการตรวจสอบความถูกต้องในการทำธุรกรรม หากไม่ประสงค์จะรับเงินโอนระหว่างประเทศผ่านระบบพร้อมเพย์สามารถยกเลิกการใช้บริการโดยไม่กระทบกับการใช้บริการพร้อมเพย์ในประเทศได้ที่แอปพลิเคชัน กรุงไทย เน็กซ์ หรือศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ธนาคารกรุงไทย 0-2111-1111
-
ถ้าได้รับการแจ้งเตือนแล้ว ต้องกดยืนยันการรับเงินโอนระหว่างประเทศหรือไม่
หากได้รับการแจ้งเตือนว่ามีเงินโอนระหว่างประเทศผ่านระบบพร้อมเพย์เข้าบัญชีแล้ว ผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องกดยืนยันการรับเงิน เงินโอนจะเข้าบัญชีที่ผูกบริการกรุงไทยพร้อมเพย์ด้วยหมายเลขโทรศัพท์มือถือโดยอัตโนมัติ
-
หากไม่ได้รับการแจ้งเตือนจากบริการรับเงินโอนระหว่างประเทศผ่านระบบพร้อมเพย์ ต้องทำอย่างไร
ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบรายการรับเงินโอนระหว่างประเทศผ่านระบบพร้อมเพย์ได้ตามช่องทางที่ธนาคารกำหนด
-
มีการกำหนดวงเงินและจำนวนเงินสูงสุดในการรับเงินโอนระหว่างประเทศผ่านระบบพร้อมเพย์ต่อรายการ และต่อวันหรือไม่
กำหนดจำนวนเงินสูงสุดในการรับเงินโอนระหว่างประเทศผ่านระบบพร้อมเพย์ต่อรายการตามที่ตกลงกันในแต่ละประเทศ สำหรับประเทศสิงคโปร์กำหนดวงเงินไว้ที่ไม่เกิน 25,000 บาทแต่ไม่กำหนดวงเงินการรับเงินโอนระหว่างประเทศต่อวัน ผู้ใช้บริการสามารถรับเงินโอนระหว่างประเทศได้ไม่จำกัด และไม่มีค่าธรรมเนียมในการรับเงินโอนระหว่างประเทศผ่านระบบพร้อมเพย์