ส่งเสริมความยั่งยืนทางทรัพยากรบุคคล
"มิติสังคม"

มิติสังคมของธนาคารกรุงไทย
การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรมและสิทธิมนุษยชน
การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม
และสิทธิมนุษยชน
ธนาคารเคารพในสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนควรได้รับอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างสันติสุข โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ สีผิว เพศ อายุ ภาษา ศาสนา สถานภาพทางกายหรือสุขภาพ มีแนวทางปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเสมอภาค ไม่มีการกีดกัน แบ่งแยก หน่วงเหนี่ยว หรือจำกัดสิทธิ์แก่บุคคล มีมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสร้องเรียน และใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกพนักงานเข้าทำงานตามคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ
สำหรับความเป็นธรรมด้านการบริการลูกค้า ธนาคารใช้ระบบบัตรคิวเพื่อให้บริการลูกค้าที่มาใช้บริการตามลำดับก่อน-หลังและจัดตั้งช่องทางให้ลูกค้าสามารถร้องเรียนการให้บริการที่ไม่เป็นธรรมได้
การดูแลพนักงาน
การดูแลพนักงาน
ธนาคารเชื่อว่า “เมื่อพนักงานมีความสุขกับการทำงาน ย่อมสร้างผลงานที่มีคุณภาพให้กับองค์กรอยู่เสมอ” ดังนั้น จึงให้ความสำคัญกับการดูแลพนักงานและผู้บริหารอย่างเป็นธรรม โดยให้ผลตอบแทนตามผลงานที่ปฏิบัติได้จริง ผ่านระบบการประเมินผลงานที่โปร่งใส มีหลักเกณฑ์ชัดเจน รวมทั้งมีการนำผลการประเมินมาใช้พัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน นอกจากนี้ ยังมีการวัดความพึงพอใจของพนักงานและนำข้อมูลจากการประเมินมาปรับปรุงแลพัฒนาการดูแลพนักงานต่อไป
การพัฒนาศักยภาพแก่พนักงาน
ธนาคารมีการให้ความรู้ด้านการพัฒนาทักษะและความรู้ด้าน DIGITAL ให้กับพนักงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อวางรากฐานที่แข็งแกร่งเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต โดยมีกระบวนการพัฒนาพนักงานอย่างเป็นระบบ ดังนี้

กระบวนการพัฒนาพนักงาน
ขั้นตอนในการพัฒนา แนวทางปฏิบัติ
1. Identify Need กำหนดความต้องการในการพัฒนาผู้บริหารและพนักงาน โดยแต่ละ Business Unit จะกำหนดความต้องการในการพัฒนาของหน่วยงาน ผู้บริหาร และพนักงาน นำข้อมูลแผนยุทธศาสตร์ธนาคาร มาใช้ประกอบการพิจารณาความต้องการในการพัฒนา รวมทั้งการเชื่อมโยงความต้องการระดับองค์กร และนโยบายของผู้บริหาร
2. Analyze Need วิเคราะห์ความต้องการในการพัฒนาผู้บริหารและพนักงาน ความต้องการระดับองค์กร และนโยบายของผู้บริหาร โดยนำข้อมูลในระดับองค์กร หน่วยงาน บุคคล และความยั่งยืน รวมถึง Training Roadmap มาศึกษาทบทวน และวิเคราะห์ปัจจัยนำเข้าทุกปัจจัย โดยใช้ Gap Analysis เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ ซึ่งจะกำหนดความรู้ ทักษะ ทัศนคติตาม Competency 3 ด้านในการจัดทำร่างแผนพัฒนาผู้บริหาร และพนักงาน ได้แก่
  1. Core Technical
  2. Management Competency
  3. CAMEL FRAMEWORK (เฉพาะผู้บริหาร)
3. Design ออกแบบรูปแบบและวิธีการการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพ เพื่อให้สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ธนาคาร Training Roadmap / Training Need ของแต่ละ Business Unit และแต่ละกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งเนื้อหาต่างๆ ของการพัฒนาพนักงาน
4. Implement นำแผนการพัฒนาพนักงานไปปฏิบัติ ได้แก่
  1. จัดอบรมแบบ Classroom
  2. จัดอบรมภายในธนาคาร (In house Training)
  3. การส่งไปอบรม/สัมมนา/ดูงานจัดโดยสถาบันภายนอก (Public Training)
  4. การส่งไปอบรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ การฝึกอบรมในงาน (On the Job Training) Project–based Learning
  5. การอบรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning)
  6. การอบรมผ่านช่องทาง Webinar
  7. อบรมในโครงการพี่เลี้ยง
  8. อบรมผ่าน VDO Conference เป็นต้น
5. Evaluate การประเมินและติดตามผลการฝึกอบรม ซึ่งมีการประเมินผลโดยพนักงาน ผู้บังคับบัญชาของพนักงานที่ได้รับการพัฒนา และผู้บริหารหน่วยงาน

สุขภาวะและความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงาน
สุขภาวะและความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงาน
สุขภาวะและความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงาน
“ธนาคารใส่ใจดูแลให้สภาพแวดล้อมในการทำงานของพนักงานมีความเหมาะสมและมีความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน”
ธนาคารกำหนดนโยบายด้านความปลอดภัยของพนักงานอย่างครอบคลุม ทั้งการกำหนดวิสัยทัศน์ความปลอดภัยฯ พันธกิจความปลอดภัยฯ ค่านิยมความปลอดภัยฯ กลยุทธ์ด้านความปลอดภัยฯ โครงสร้างการดำเนินงานด้านความปลอดภัยฯ รวมทั้งมีการตั้งเป้าหมายด้านความปลอดภัยฯ เพื่อทำให้พนักงานของเรามีความรู้สึกอุ่นใจและผูกพันกับองค์กร และร่วมกันสร้างให้ธนาคารเป็นบ้านหลังที่สองเป็น “Best Place to Work” อย่างแท้จริง
ยุทธศาสตร์ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

โครงสร้างการบริหารงานด้านความปลอดภัยของธนาคาร
คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการ สภาพแวดล้อมเพื่อสวัสดิภาพของพนักงาน
คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อสวัสดิภาพของพนักงาน
โดยต้องมาจากการแต่งตั้งตัวแทนระดับผู้บริหารทุกสายงานของธนาคาร มีหน้าที่ทบทวนกระบวนการบริหารจัดการ และแผนงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของธนาคาร
KTB – SSHE (KTB – Safety,Security, Health andEnvironment)
KTB – SSHE (KTB – Safety,Security, Health andEnvironment)
ระบบการดำเนินงานเพื่อดูแลด้านความปลอดภัย สวัสดิภาพ สุขอนามัย และสิ่งแวดล้อมของทั้งธนาคาร ซึ่งมีฝ่ายงานต่างๆ รับผิดชอบ ประกอบด้วย ฝ่ายบริหารงานวินัยและพนักงานสัมพันธ์ ฝ่ายอาคารและจัดการทรัพย์สิน ฝ่ายบริการและรักษาความปลอดภัย และฝ่ายสถานพยาบาลธนาคาร โดยการดำเนินการของ Krungthai – SSHE จะอยู่บนพื้นฐานของการดูแลความปลอดภัยและสุขภาพของพนักงานทุกคนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
คณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
คณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ธนาคารได้จัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยฯ ของแต่ละอาคาร ประกอบด้วยตัวแทนฝ่ายนายจ้างซึ่งเป็นพนักงานระดับบังคับบัญชา และตัวแทนฝ่ายลูกจ้างซึ่งเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการ ตามสัดส่วนและจำนวนที่กฎหมายกำหนด โดยจะมีการประชุมเพื่อหารือร่วมกันระหว่างตัวแทนฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง เพื่อติดตาม ควบคุมดูแล และทบทวนการดำเนินงานด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยของพนักงานแต่ละอาคารทั่วประเทศอย่างเป็นระบบ (ประชุมเดือนละ 1 ครั้ง)
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร และระดับหัวหน้างาน
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร และระดับหัวหน้างาน
ทำหน้าที่ดูแลความปลอดภัยและสุขอนามัยของพนักงานทั่วทั้งองค์กร อย่างเป็นระบบ
พนักงาน
พนักงาน
มีหน้าที่ให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมด้านความปลอดภัยฯ พร้อมทั้งมีส่วนช่วยในการดูแลตรวจสอบสภาพแวดล้อม และร่วมเสนอความคิดเห็นในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการดำเนินงานด้านความปลอดภัยฯ