เสริมสร้างความมั่นคงทางการเงิน
"มิติเศรษฐกิจ"
สร้างผลตอบแทนอย่างยั่งยืน
ด้วยหลักธรรมภิบาล
ธนาคารกรุงไทยมุ่งดำเนินธุรกิจเพื่อก้าวสู่การเป็นธนาคารชั้นนำ ที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสนับสนุนการดำเนินงานภาครัฐอย่างมั่นคง ภายใต้การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ดูแลพัฒนาบุคลากรและองค์กรให้มีประสิทธิภาพ มีนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และให้บริการที่ตอบสนองกับความต้องการของลูกค้า เพื่อสร้างผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นอย่างเหมาะสมและยั่งยืน
บรรษัทภิบาล
ธนาคารเชื่อว่ารากฐานสำคัญของการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืนและมั่นคงนั้น ต้องมาจากการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการมีจริยธรรม จึงมีการกำหนดให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับ ยึดมั่นและปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี อันนำไปสู่การเป็นองค์กรที่มีวัฒนธรรมบรรษัทภิบาล ภายใต้ข้อกำหนดนโยบายต่อต้านการให้สินบนและคอร์รัปชั่น (Anti Bribery and Corruption Policy) เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ตรงไปตรงมา และมีการปฏิบัติตามหลักการการต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ โดยปฏิเสธการกระทำใดๆ ที่นำไปสู่กระบวนการคอร์รัปชั่นและสินบน (Zero tolerance)
การบริหารความเสี่ยงภาวะวิกฤติ
ธนาคารได้ตระหนักถึงความสำคัญต่อการบริหารและควบคุมความเสี่ยงอย่างเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพครอบคลุมทั้งองค์กร ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญให้ผู้บริหารนำไปใช้ในการจัดการความเสี่ยง เพื่อลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และลดเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดเดาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตและอาจส่งผลในทางบวกหรือทางลบต่อองค์กร
โดยได้มีการกำหนดโครงสร้างนโยบาย พร้อมทั้งแนวทางการปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน ตามกรอบข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทยและตามแนวทางของ Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission (COSO) รวมถึงดำเนินงานตามแนวทาง State Enterprise Performance Appraisal (SEPA) ซึ่งเป็นระบบประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้มีการพัฒนาระบบการบริหารจัดการในด้านต่างๆ ทัดเทียมกับมาตรฐานการบริหารจัดการองค์กรระดับสากล พร้อมทั้งจัดตั้งสายงานบริหารความเสี่ยงในการกำกับดูแล ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลต่อคณะกรรมการธนาคารอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ยังมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ Governance Risk and Compliance (GRC) ระดับจัดการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบพิจารณา เป็นผู้ให้ความเห็นในการปรับปรุงกระบวนการให้สินเชื่อของธนาคาร และการดำเนินการตามประเด็นการตรวจพบของหน่วยงานที่กำกับธนาคารให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล
จรรยาบรรณธุรกิจ
จรรยาบรรณธุรกิจ
จรรยาบรรณธุรกิจ
“ธนาคารกำหนดจรรยาบรรณธุรกิจ เพื่อเป็นแนวทางให้คณะกรรมการ คณะผู้บริหาร และพนักงานทุกคนของธนาคารกรุงไทย ให้ประพฤติตนให้อยู่ในกฎระเบียบ”
โดยเทียบเคียงกับมาตรฐานสากล และจัดหมวดหมู่ให้สอดคล้องกับแนวทาง Industry Code of Conduct ของสมาคมธนาคารไทย 3 หลักการ ได้แก่
  • ความซื่อสัตย์ส่วนตน (Integrity)
  • ความยุติธรรมในการดำเนินธุรกิจ (Fairness)
  • การรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Responsible to Stakeholders)

การบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า
ธนาคารให้ความสำคัญกับความต้องการของลูกค้าเป็นที่สุด โดยยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) เห็นได้จากการคิดค้นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อให้ตอบสนองความต้องการและเหนือความคาดหวังของลูกค้า โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อดึงดูดลูกค้าใหม่ และสร้างโอกาสขยายความสัมพันธ์ลูกค้าปัจจุบัน
การบริหารจัดการห่วงโซ่คุณค่า
ธนาคารใช้เงินทุนดำเนินธุรกิจในรูปแบบการปล่อยสินเชื่อประเภทต่างๆ เช่น สินเชื่อธุรกิจ สินเชื่อธุรกิจภาครัฐ สินเชื่อสาขาต่างประเทศ และเงินสุทธิในการลงทุนอื่นๆ ซึ่งทำให้ธนาคารมีรายรับเข้ามาในรูปของดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม ทั้งจากบริการของธนาคารและบริการของบริษัทในเครือที่เสนอขายผ่านธนาคาร อาทิ บริการเช่าซื้อและลิสซิ่ง บริการจัดการกองทุนฯ รวมถึงรายการระหว่างธนาคารและตลาดเงินสุทธิด้านสินทรัพย์
กลยุทธ์สู่ความยั่งยืน
กลยุทธ์สู่ความยั่งยืน
INFLOW
แหล่งที่มาของเงินทุน มาจาก
1. Deposit
- Retail
- Business & SMEs
- Government & State Enterprise
- Financial Inst. & Cooperative
2. Borrowing
3. Equity
กลยุทธ์สู่ความยั่งยืน
BANK MANAGEMENT
สามารถแบ่งออกได้เป็น
1. Financial Management
2. Capital Management
3. Legal & Regulatory Compliance
กลยุทธ์สู่ความยั่งยืน
OUTFLOW
การใช้เงินทุนดำเนินธุรกิจต่างๆ แบ่งออกได้เป็น
1. Loan
- Retail (Consumer & housing)
- Business & SMEs
- Government & State Enterprise
- Financial Inst. & Cooperative
2. Investment