หมู่บ้านเล็ก ๆ ในต.มะลุ่ย อ.ทับปุด จ.พังงา แหล่งเพาะเลี้ยงหอยนางรมสำคัญของประเทศไทย ชุมชนผู้ริเริ่มการทำสบู่จากเปลือกหอยนางรม
ชุมชนบ้านโคกไคร หมู่บ้านเล็กๆ ใน ต.มะลุ่ย อ.ทับปุด จ.พังงา เป็นแหล่งเลี้ยงหอยนางรมแหล่งสำคัญของประเทศ พร้อมทั้งยังมีทรัพยากรและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นโคลนร้อน ป่าชายเลน ถ้ำผีหัวโต หาดปูแดง รวมถึงกิจกรรมพายเรือคายัค ทั้งผลิตสินค้าจากทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น สครับเปลือกหอยนางรม สบู่เปลือกหอยนางรม สมุนไพรเพื่อสุขภาพขลู่ ฯลฯ
ธนาคารกรุงไทยได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของชุมชน ที่มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน คีย์เวิร์ดสำคัญของโครงการ CSR ในครั้งนี้คือ “ความยั่งยืน” จึงจับมือกับชุมชนบ้านโคกไคร มอบองค์ความรู้ ให้คนในชุมชนสามารถนำไปพัฒนาและประยุกต์ใช้ กับทรัพยากรหรือผลิตภัณฑ์และบริการที่มีอยู่ในชุมชน ภายใต้โครงการ “กรุงไทยรักชุมชนบ้านโคกไคร” เพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างความเข้มแข็งให้กับการท่องเที่ยวของชุมชนได้ ไม่ว่าจะเป็นการแนะนำนวัตกรรมทางการเงินจากทางธนาคาร เช่น แอปพลิเคชัน Krungthai NEXT, Krungthai Connext การแนะนำระบบบัญชีรายรับ-รายจ่าย การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อยกระดับสินค้าและมาตรฐานการท่องเที่ยวให้ดียิ่งขึ้น
สบู่เปลือกหอยนางรม สบู่ที่เกิดจากภูมิปัญญาของชุมชนที่ต้องการแก้ไขปัญหาของเปลือกหอยนางรมที่ถูกทิ้งไว้อย่างไร้ค่า จนกลายเป็นขยะ นำมาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ และสร้างคุณค่า เพิ่มรายได้ให้กับชุมชน เพราะส่วนใหญ่ คนในชุมชนบ้านโคกไคร ประกอบอาชีพประมง ทำฟาร์มหอยนางรม โดยเมื่อนำเอาตัวหอยนางรมออกมาเพื่อส่งขายแล้ว จะเหลือเปลือกหอยก็จะนำไปทิ้งที่คลอง ทำให้เกิดปัญหาคลองตื้นเขิน โดยผู้นำชุมชน สังเกตเห็นว่า แสงวาวๆ ของด้านในเปลือกหอยนางรม น่าจะนำมาทำสบู่ได้ ก็เลยทดลองทำ และได้ทางธนาคารกรุงไทย ช่วยเหลือด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และจัดหาช่องทางการจัดจำหน่าย ทำให้ชุมชนมีรายได้ที่มากขึ้น เกิดความยั่งยืนในชุมชน
ชุมชนบ้านโคกไคร ยังมีอีกหนึ่งไฮไลต์ที่ห้ามพลาด คือ การทำสปาโคลนร้อน ที่เกิดจากรอยแยกของเปลือกโลก จะพบได้แค่ตอนน้ำทะเลลดระดับลงเท่านั้น (ใน 1 เดือน จะมีแค่ 10 วัน) ซึ่งจะทำให้บริเวณดังกล่าวเกิดน้ำทะเลร้อน ทรายร้อน และโคลนร้อน โดยชาวบ้านมักนำมาพอกผ่อนคลายเรื่องเหน็บชาหลังจากเก็บหอยนางรม จึงเปิดเป็นกลุ่มท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกไคร ซึ่งในระหว่างที่พอกโคลนอยู่ ก็จะมีเครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพขลู่ ที่หาได้จากชุมชน มาบริการด้วย ที่สำคัญ ถ้าติดใจในรสชาติเครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพขลู่ หรืออยากทดลองสบู่จากเปลือกหอยนางรม ก็สามารถหาซื้อติดไม้ติดมือกลับบ้านได้ด้วย
• จัดอบรมการวางแผนทางการเงิน การลงบัญชี
รายรับ-รายจ่าย
• แนะนำผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคาร มีการเปิดบัญชี
และ ใช้ QR Code
• จัดทำสมุดบัญชี
• ปรับปรุงศูนย์การเรียนรู้ประมงพื้นบ้าน (ฟาร์มหอยนางรม)
• สร้างห้องน้ำ
• จัดทำแพ
• ปรับปรุงเรือนำเที่ยว
• พัฒนา Packaging
• ปรับปรุงศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน
• Visibility
• การขายสินค้าผ่านE-Commerce
• การประชาสัมพันธ์สินค้าชุมชนผ่าน Krungthai care
• จัดอบรมให้ความรู้โดยกรมการท่องเที่ยว
• จัดอบรมให้ความรู้โดย อพท.
• จัดทำสมุดเยี่ยมชม