โครงการ CSR

ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้พิการ พัฒนาการให้บริการทางการเงิน
อัพเดทวันที่7 ธ.ค. 2565


   การยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม เป็นเป้าประสงค์หลักของธนาคารกรุงไทย ในการวางแนวทางเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการผ่านโครงการ “กรุงไทยรักคนพิการ” โดยสนับสนุนการจ้างงานผู้พิการให้ปฏิบัติงานที่สำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดทั่วประเทศตั้งแต่ปี 2561 และสนับสนุนให้เข้ารับการอบรมหลักสูตรวิชาชีพกับมูลนิธิหอการค้าไทย คว้ารางวัล “องค์กรต้นแบบความยั่งยืนตลาดทุนไทยด้านสนับสนุนคนพิการ” ตอกย้ำความมุ่งมั่นยกระดับคุณภาพชีวิตผู้พิการ ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ซึ่งเป็นรางวัลที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ร่วมกับ กระทรวงแรงงาน และสมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย มอบให้กับองค์กรที่ส่งเสริมและสนับสนุนการจ้างงานผู้พิการ

  นอกจากนี้ธนาคารยังมุ่งมั่นพัฒนาและยกระดับการให้บริการแก่ผู้พิการอย่างสม่ำเสมอ โดยร่วมกับสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย พัฒนาตู้ ATM เพื่อการเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โดยเปิดโอกาสให้ผู้พิการทางสายตามีส่วนร่วมทดลอง ให้คำแนะนำ และใช้งานจริงในทุกขั้นตอน เพื่อให้มั่นใจว่าตู้ ATM ของธนาคารจะสามารถตอบสนองและอำนวยความสะดวกได้อย่างสูงสุด


Strategy กรุงไทยรักชุมชน


   นอกจากนี้ ธนาคารยังได้พัฒนาแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT ออกแบบโดยคำนึงถึงผู้ใช้งานตามมาตรฐาน UI Accessibility Guideline ของระบบปฏิบัติการ iOS และ Android สามารถรองรับการใช้งานผ่านฟังก์ชัน Voice Over ของระบบ iOS หรือ Talk Back ของระบบ Android ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ทำให้ผู้พิการทางสายตาสามารถทำธุรกรรมได้เหมือนกับคนทั่วไป ส่งผลให้ธนาคารได้รับ รางวัล TAB Digital Inclusive Awards 2019 จากสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย โดยได้รับการโหวตจากผู้พิการทางสายตาให้เป็นโมบายแบงกิ้งที่ใช้งานได้สะดวกสบาย ปลอดภัย ถูกต้อง แม่นยำ และได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ “วุฒิสภา ศรัทธาความดี ประจำปี 2564 ในฐานะธนาคารต้นแบบที่สนับสนุนให้ผู้พิการทางสายตาเข้าถึงธุรกรรมทางการเงินได้สะดวก

   รางวัลที่ธนาคารได้รับสะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ขององค์การสหประชาชาติ (United Nations) ได้แก่ เป้าหมายการลดความไม่เสมอภาค ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงิน (Reduced Inequalities) เพื่อให้บริการอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ให้ทุกภาคส่วนเติบโตอย่างเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการทางการเงิน เป้าหมายของเมืองและชุมชนที่ยั่งยืน (Sustainable Cities and Communities) ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมืองและชุมชนให้มีการเข้าถึงการทำธุรกรรม ครอบคลุมทั่วถึงทุกกลุ่มเพื่อก่อเกิดความยั่งยืน


ปฏิทินประจำปี 2566 ทั้งหมด
คลิก