Life Insurance


Choose the insurance that you want
คำถามที่พบบ่อย
ประกันชีวิต คือ สัญญาระหว่างผู้เอาประกันกับบริษัทประกันภัย เพื่อให้ความคุ้มครองทางการเงินแก่ผู้เอาประกันภัยหรือครอบครัว ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตหรือเกิดทุพพลภาพตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ โดยบริษัทประกันจะจ่ายเงินให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือ ผู้รับผลประโยชน์ เช่น ครอบครัว หรือ บุคคลที่ได้รับเงินจากบริษัทประกันหากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต นอกจากนี้ประกันชีวิตมีหลายประเภท เช่น แบบสะสมทรัพย์หรือแบบบำนาญ ยังช่วยวางแผนการเงินระยะยาว และมีเงินคืนในอนาคตอีกด้วย
ส่วน ประกันสุขภาพ จะเน้นคุ้มครองด้านค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ ค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วย อุบัติเหตุ หรือโรคร้ายแรง โดยบริษัทประกันจะจ่ายค่ารักษาให้ตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ ซึ่ง ประกันสุขภาพ ไม่มีผลตอบแทนหรือเงินคืน เหมือนประกันชีวิต แต่จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายเมื่อต้องเข้ารับการรักษา ทำให้ทั้งสองแบบมีจุดประสงค์ต่างกัน และสามารถทำควบคู่กันเพื่อความคุ้มครองที่ครอบคลุมได้มากขึ้น
ประกันชีวิต มีหลายประเภทเพื่อรองรับความต้องการที่หลากหลาย ทั้งในแง่ของการคุ้มครอง ความคุ้มค่า หรือการวางแผนทางการเงินในอนาคต โดยหากแบ่งตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ ประกันชีวิตแบบพื้นฐาน และประกันชีวิตแบบพิเศษ
1. ประกันชีวิตแบบพื้นฐาน
1.1 ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life Insurance)
ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ คือ ประกันที่ให้ความคุ้มครองชีวิตของผู้เอาประกันตลอดชีวิต หรือจนถึงอายุที่กำหนดไว้ เช่น 90 หรือ 99 ปี หากเสียชีวิตในช่วงที่กรมธรรม์ยังมีผล บริษัทจะจ่ายเงินให้กับผู้รับผลประโยชน์ตามจำนวนที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ บางแผนอาจมีเงินคืนบางส่วน หรือเงินปันผลให้ระหว่างสัญญา
จุดเด่น: คุ้มครองยาวนาน เป็นแผนวางมรดกที่มั่นคง
เหมาะสำหรับ: ผู้ที่ต้องการดูแลครอบครัวในระยะยาว หรือใช้ประกันเป็นเครื่องมือวางแผนมรดก/ทรัพย์สิน
1.2 ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term Life Insurance)
ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา คือ ประกันที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะในช่วงเวลาที่กำหนด เช่น 5, 10, 20 หรือ 30 ปี โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ความคุ้มครองชีวิตในช่วงที่มีภาระ เช่น ผ่อนบ้าน เลี้ยงดูบุตร ถ้าครบสัญญาโดยไม่มีการเสียชีวิต จะไม่มีการคืนเงินใด ๆ
จุดเด่น: เบี้ยประกันถูกมากเมื่อเทียบกับทุนประกันสูง เหมาะสำหรับคุ้มครองระยะสั้น
เหมาะสำหรับ: คนวัยทำงานที่ต้องการความคุ้มครองสูงในช่วงที่มีภาระค่าใช้จ่าย เช่น หัวหน้าครอบครัว หรือคนเริ่มต้นสร้างตัว
1.3 ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment Insurance)
ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ คือ ประกันที่ให้ความคุ้มครองชีวิตควบคู่กับการออมเงิน โดยผู้เอาประกันจะได้รับเงินคืนเมื่อครบกำหนดกรมธรรม์ (เช่น 10, 15 หรือ 20 ปี) และหากเสียชีวิตระหว่างสัญญา ก็จะได้รับเงินตามเงื่อนไขทันทีเช่นกัน จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการวางแผนทางการเงินระยะยาว
จุดเด่น: เหมือนได้ทั้งประกันชีวิตและการออมเงินพร้อมกัน
เหมาะสำหรับ: ผู้มีรายได้ประจำที่ต้องการสร้างวินัยการออม พร้อมความคุ้มครอง
1.4 ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit-Linked Insurance)
ประกันชีวิตควบการลงทุน คือ ประกันที่ผสมระหว่างการคุ้มครองชีวิตกับการลงทุนในกองทุนรวมบางประเภท โดยเบี้ยประกันส่วนหนึ่งจะนำไปลงทุน ซึ่งอาจให้ผลตอบแทนสูงกว่าการฝากเงิน แต่ก็มีความเสี่ยงตามตลาดทุน มีความยืดหยุ่นในการเพิ่ม/ลดทุนประกันหรือเบี้ยรายปี และสามารถถอนเงินบางส่วนได้ในบางกรณี
จุดเด่น: เพิ่มโอกาสในการได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน พร้อมรับความคุ้มครองชีวิต
เหมาะสำหรับ: คนรุ่นใหม่ที่มีความเข้าใจการลงทุน ผู้ที่ต้องการทั้งประกันและโอกาสสร้างผลตอบแทนในเวลาเดียวกัน
2. ประกันชีวิตแบบพิเศษ
2.1 ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit-Linked Insurance)
ประกันชีวิตควบการลงทุน คือ ประกันที่ให้ความคุ้มครองชีวิต และให้โอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุนของผู้เอาประกัน โดยเบี้ยประกันที่จ่ายไปจะถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายของบริษัทประกัน ส่วนความคุ้มครอง และส่วนที่นำไปลงทุน ซึ่งรูปแบบที่นิยมคือประกันชีวิตแบบ Unit Link ที่ผู้เอาประกันสามารถเลือกนำไปลงทุนในกองทุนรวมที่บริษัทประกันคัดเลือกมาให้แล้ว และอีกรูปแบบเรียกว่า Universal Life ซึ่งบริษัทประกันจะเป็นผู้นำเงินไปลงทุนให้เรา พร้อมการันตีผลตอบแทนขั้นต่ำ
จุดเด่น: ยืดหยุ่น ปรับแผนได้ และมีโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุน
เหมาะสำหรับ: คนรุ่นใหม่หรือผู้มีรายได้ที่ต้องการวางแผนการเงินระยะยาว และยอมรับความเสี่ยงได้
2.2 ประกันชีวิตผู้สูงอายุ
ประกันชีวิตผู้สูงอายุ คือ ประกันที่ออกแบบมาสำหรับผู้ที่มีอายุสูงตั้งแต่ 50-70 ปี หรือตามที่บริษัทประกันกำหนด โดยทั่วไปมักไม่ต้องตรวจสุขภาพ และรับประกันแม้มีโรคประจำตัวบางประเภท ให้ความคุ้มครองในกรณีเสียชีวิตจากเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ ซึ่งอาจมีระยะเวลารอคอย (Waiting Period) ในช่วงแรก โดยจ่ายเงินเอาประกันเป็นรายเดือนหรือรายปีจนถึงอายุที่กำหนด
จุดเด่น: ไม่ต้องตรวจสุขภาพ เข้าถึงง่ายแม้อายุมากแล้ว
เหมาะสำหรับ: ผู้สูงอายุที่ไม่มีประกันชีวิตมาก่อน หรือมีโรคประจำตัวและต้องการวางแผนภาระค่าใช้จ่ายท้ายชีวิต
ไม่จำเป็น หากอายุต่ำกว่า 40-45 ปี ทุนประกันไม่เกินเงื่อนไขที่บริษัทกำหนด สามารถซื้อประกันผ่านทางธนาคารและช่องทางอื่นๆได้ แต่ลูกค้าต้องเปิดเผยข้อมูลสุขภาพ (เช่น โรคประจำตัว) ตามความเป็นจริง มิฉะนั้นสัญญาประกันชีวิตอาจถูกยกเลิกในภายหลังได้
ประกันชีวิต สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 300,000 บาท ต่อปี ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด โดยมีรายละเอียดดังนี้
เบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไป สามารถนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท โดยกรมธรรม์ต้องมีความคุ้มครองไม่น้อยกว่า 10 ปี และในกรณีที่มีการรับเงินคืนระหว่างสัญญาทุกปี จำนวนเงินที่ได้รับคืนต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันรายปี ทั้งนี้ เป็นไปตามข้อมูลที่บริษัทประกันแจ้งต่อกรมสรรพากรเพื่อใช้สิทธิ์ลดหย่อน
เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 200,000 บาท และต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี หากผู้เอาประกันยังไม่ได้ใช้สิทธิ์ลดหย่อนในส่วนของประกันชีวิตทั่วไป สามารถใช้สิทธิเพิ่มเติมกับประกันแบบบำนาญได้อีก 100,000 บาท รวมเป็นลดหย่อนได้สูงสุดถึง 300,000 บาท ภายใต้เงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด
ที่มา: กรมสรรพากร
ปัญหาสุขภาพ และ ประวัติการเจ็บป่วย มีผลต่ออัตรามรณะที่สูงขึ้นกว่าปกติเมื่อเทียบกับผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงปกติ การตรวจสุขภาพ หรือการเปิดเผยข้อมูลสุขภาพตามความเป็นจริงก่อนทำประกันชีวิต จะทำให้บริษัทประเมินความเสี่ยงของข้อมูลสุขภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม